การศึกษาค่าความเป็นไปได้ของค่าดัชนีฝนสุดขั้วของประเทศไทย ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต
บทคัดย่อ
ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกส่งผลกระทบต่อภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำของประเทศไทย โดยเฉพาะน้ำท่วม และภัยแล้ง ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น และทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมในอดีต ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำเพื่อรับมือกับน้ำท่วมและภัยแล้งในอนาคตจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อค่าดัชนีฝนสุดขั้วของประเทศไทยในอนาคต อย่างไรก็ตามค่าดัชนีฝนสุดขั้วจากชุดข้อมูลฝนจากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลกมีแนวโน้มที่แตกต่างกันตามสมมุติฐานของแบบจำลอง ซึ่งทำให้การวิเคราะห์แนวโน้มของค่าดัชนีฝนสุดขั้วจากแบบจำลองใดแบบจำลองหนึ่งไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนในการบ่งชี้แนวโน้มของภัยพิบัติจากน้ำได้ ดังนั้นการวิเคราะห์แนวโน้มของดัชนีฝนสุดขั้วจึงได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ค่าความเป็นได้มาใช้วิเคราะห์แนวโน้มของค่าดัชนีฝนสุดขั้ว โดยได้พัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ร่วมกับการวิเคราะห์ฝนสุดขั้ว 10 ดัชนี เพื่อใช้ในการประเมินผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อดัชนีฝนสุดขั้วของประเทศไทย ได้แก่ จำนวนวันฝนตกต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง จำนวนวันที่ฝนตกมากว่า 10 มิลลิเมตร 20 มิลลิเมตร 40 มิลลิเมตร สัดส่วนของวันที่ฝนตกมาก ปริมาณฝนสูงสุด 1 วัน 3 วัน และ 5 วัน ความเข้มของฝน และปริมาณฝนรวมทั้งปี โดยใช้จากข้อมูลฝนตรวจวัดจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลฝนจากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลก CMIP6 ที่ปรับแก้ความคลาดเคลื่อนแล้ว จำนวน 5 แบบจำลอง ได้แก่ CESM2, MRI-ESM2-0, BCC-CSM2-MR, GFDL-ESM4 และ CanESM
จำนวนการดาวน์โหลด
Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์