คุณสมบัติด้านกำลังและความคงทนของวัสดุควบคุมกำลังต่ำจากการกระตุ้นเถ้าลอยแคลเซียมสูงและตะกรันเหล็กด้วยอัลคาไลน์

  • นางสาวชุติปภา ดีตอ่ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ: วัสดุควบคุมกำลังต่ำ, เถ้าลอยและตะกรันเหล็ก, กำลังรับแรงอัด, ความคงทน, วัสดุผิวทาง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันวัสดุก่อสร้างได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตอบสนองต่อผู้ใช้งานด้วยการลดปัญหาหรือสร้างข้อได้เปรียบของวัสดุ ยกตัวอย่างเช่นการนำของเหลือใช้จากกระบวนการทางอุตสาหกรรมมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือพัฒนาวัสดุทางเลือกโดยไม่ใช้ปูนซีเมนต์เพื่อช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำที่ใช้เถ้าลอยแคลเซียมสูงและตะกรันเหล็กกระตุ้นด้วยอัลคาไลน์ วัสดุที่ใช้ประกอบไปด้วย เถ้าลอยและเถ้าหนักจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ตะกรันเหล็กจากอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์เป็นตัวชะละลาย โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ที่มีความเข้มข้น 6 และ 10 โมลาร์ อัตราส่วนเถ้าหนักต่อวัสดุประสาน 1.5 อัตราส่วนตะกรันเหล็กต่อวัสดุประสาน 0 10 20 และ 30 และอัตราส่วนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ต่อวัสดุประสาน 0.015 ในการพิจารณาคุณสมบัติของวัสดุควบคุมกำลังต่ำอ้างอิงแนวทางตามเอกสาร ACI229R-99 และเกณฑ์มาตรฐานงานก่อสร้างชั้นพื้นทางของกรมทางหลวงประเทศไทย โดยการทดสอบประกอบไปด้วย การทดสอบการไหล กำลังรับแรงอัดแกนเดี่ยว และการทดสอบความคงทนในสภาวะเปียกสลับแห้ง สุดท้ายในวิจัยนี้จะนำเสนอค่าอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุผิวทางต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24