การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ทางในการเบี่ยงการจราจรบนทางยกระดับ

  • เอกรินทร์ เหลืองวิลัย ฝ่ายวิจัยและแผนปฏิบัติการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
คำสำคัญ: อุบัติเหตุ, อุบัติเหตุซ้ำซ้อน, ระยะหยุดรถปลอดภัย, การแจ้งเตือนล่วงหน้า

บทคัดย่อ

ทางยกระดับดอนเมือง มีหน่วยงานกู้ภัยเพื่อแก้ไขเหตุ ให้สามารถเปิดการจราจรได้อย่างรวดเร็ว ขณะปฏิบัติงานบนทาง แม้จะมีการวางกรวยยางและเปิดไฟวับวาบตลอดเวลา แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะถูกชนซ้ำ กลายเป็นอุบัติเหตุซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นอันตรายทั้งต่อเจ้าหน้าที่และผู้ใช้ทาง และในอดีตได้เคยเกิดเหตุมาแล้ว เพื่อเป็นการยกระดับความปลอดภัย จึงมีความประสงค์จะศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ทางยกระดับฯ ในการตอบสนองต่อป้ายไฟสัญญาณหลังรถฉุกเฉินประเภทต่างๆ การวิจัยได้ตรวจวัดระยะเบี่ยงของผู้ใช้ทางด้วยการสังเกตุการณ์จากกล้อง CCTV พบว่า กรณีทีมีรถทั่วไปจอดกีดขวาง ผู้ใช้ทางจะเบี่ยงหลบที่ระยะ 124 เมตร สำหรับรถฉุกเฉินที่มีไฟวับวาบ จะมีระยะเบี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 141-165 เมตร จำนวนไฟวับวาบ ส่งผลต่อระยะเบี่ยงมากกว่าขนาดของรถ ระยะเบี่ยงระหว่าง 124-165 เมตรนี้จะสอดคล้องกับความเร็วช่วง 80-90 กม./ชม. เท่านั้น ไม่เพียงพอกับความเร็วที่ผู้ใช้ทางทั่วไปใช้ จำเป็นต้องมีมาตรการเสริมด้วย การแจ้งเตือนล่วงหน้าด้วยป้าย Matrix Sign ซึ่งให้ผลดีชัดแจ้งจากกรณีรถดูดกวาด

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้