การพัฒนาดัชนีความแห้งแล้งเรอเนสซองซ์สำหรับเตือนภัยแล้งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Somphinith Muangthong สาขาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ดัชนีภัยแล้งเรอเนสซองซ์, ตัวบ่งชี้ความแห้งแล้ง, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม บ่อยครั้งประสบปัญหาด้านน้ำ ทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง รัฐบาลไทยพยายามแก้ไขปัญหา โดยการจัดการโครงสร้างแหล่งน้ำสำหรับการส่งน้ำเพื่อการเกษตรด้วยระบบชลประทาน แต่ก็ยังคงเผชิญกับภัยแล้งในฤดูแล้งโดยเฉพาะพื้นที่เกษตรน้ำฝน การจัดการแบบไม่ใช่โครงสร้างอย่างหนึ่งซึ่งสามารถใช้เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ความแห้งแล้งทางการเกษตรคือการเตือนเกษตรกร โดยใช้ตัวบ่งชี้ความแห้งแล้ง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้ดัชนีภัยแล้งเรอเนสซองซ์ เพื่อระบุสถานการณ์ความแห้งแล้งในแง่ของความรุนแรงและเชิงพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนสังเกตการณ์คำนวณดัชนี จากนั้นเปรียบเทียบดัชนีกับข้อมูลปริมาณน้ำฝนตรวจวัดเพื่อหาค่าความสอดคล้องและประสิทธิภาพ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าดัชนีภัยแล้งเรอเนสซองซ์สามารถนำไปใช้ติดตามความแห้งแล้งของประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่ดี (0.52-0.64) และระบุความแห้งแล้งเชิงพื้นที่ในภาพรวมของประเทศไทย ซึ่งแผนที่ดัชนีภัยแล้งเรอเนสซองซ์ชี้ให้เห็นว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งที่รุนแรงที่สุด ภาคเหนือและภาคกลางเป็นลำดับที่รองตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง