ผลวิเคราะห์โครงสร้างอาคารตึกช้างต้านทานแรงแผ่นดินไหวตามมาตรฐาน มยผ.1301/1302-61

ผู้แต่ง

  • นิติกร แสงสว่าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • อาทิตย์ เพชรศศิธร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ สถาบันเทคโนโลยีกระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

วิธีแรงสถิตเทียบเท่า, ความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้าง, ประเภทการออกแบบแรงแผ่นดินไหว

บทคัดย่อ

มาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง สำหรับการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ.1301/1302-61 ได้อธิบายวิธีการคำนวณหาแรงแผ่นดินไหวของอาคารหลายรูปแบบ ในเชิงสถาปัตยกรรมการออกแบบที่มีความซับซ้อน ทำให้โครงสร้างอาคารไม่สมมาตรและไม่สม่ำเสมอในลักษณะต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ความไม่สม่ำเสมอเชิงการบิด ความไม่สม่ำเสมอแนวระนาบ หรือความไม่สม่ำเสมอแนวดิ่ง บทความนี้นำเสนอผลการวิเคราะห์อาคารตัวอย่างตึกช้าง (Elephant Tower) ซึ่งเป็นอาคารที่ได้รับรางวัล ตึกระฟ้าที่มีเอกลักษณ์อันดับที่ 4 ใน 20 ของโลก ในปี 2013 และยังเป็นอาคารที่มีความไม่สม่ำเสมอของรูปทรงโครงสร้างทั้งแนวราบและแนวดิ่ง มาเป็นแบบจำลองในการวิเคราะห์โครงสร้าง โดยตั้งสมมติฐานว่าอาคารตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และมีประเภทการออกแบบแรงแผ่นดินไหวแบบ ง เพื่อศึกษาพฤติกรรมของโครงสร้าง ผลตอบสนองของอาคาร และเปรียบเทียบผลจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีแรงสถิตเทียบเท่า วิธีสเปกตรัมตอบสนองแบบโหมด และวิธีวิเคราะห์การตอบสนองเชิงเส้นแบบประวัติเวลา ตามมาตรฐานมยผ.1301/1302-61

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

แสงสว่าง น., & เพชรศศิธร อ. (2021). ผลวิเคราะห์โครงสร้างอาคารตึกช้างต้านทานแรงแผ่นดินไหวตามมาตรฐาน มยผ.1301/1302-61. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, STR-16. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/961