ประสิทธิภาพของการออกแบบพื้นที่จัดการน้ำฝนสำหรับการพัฒนาโครงการก่อสร้างในเขตเมือง
คำสำคัญ:
การออกแบบพื้นที่จัดการน้ำฝน, ประสิทธิภาพการรับน้ำไหลนอง (runoff), โครงการก่อสร้างในเขตเมือง, แนวทางการจัดการที่ดีที่สุด (BMPs)บทคัดย่อ
น่านเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทำให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและขยายเมืองมากขึ้น จึงมีการพัฒนา โครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองภูเพียงเพื่อเป็นสถานที่รองรับการท่องเที่ยวและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยใช้พื้นที่หนองน้ำครกซึ่งเดิมเป็นพื้นที่รับน้ำท่วมของเขตพื้นที่อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน พื้นที่ดังกล่าวจะถูกแทนที่ด้วยสิ่งปลูกสร้างอาคารและพื้นคอนกรีต เมื่อมีปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามาก ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการซึมน้ำของพื้นที่นั้นลดลง จึงเกิดน้ำท่วมขัง หรือกลายเป็นน้ำไหลนอง (runoff) ที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นจึงสนใจทำการศึกษาการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการรับน้ำไหลนองต่อราคาต้นทุนในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองภูเพียง บ้านม่วงตึ๊ด หมู่ที่ 4 ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โดยบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์มาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการกักเก็บ ชะลอ และระบายน้ำผิวดิน หรือตามแนวคิดต้นแบบของ Water Sensitive Urban Design(WSUD) , Low Impact Development (LID) และแนวทาง Best Management Practices (BMPs) มุ่งศึกษาการออกแบบลักษณะทางกายภาพของชั้นดิน และการเลือกใช้วัสดุที่ซึมน้ำได้ดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรับน้ำไหลนองต่อราคาต้นทุนได้ดี เป็นแนวทางการป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขัง เพื่อการพัฒนาพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพในการรับน้ำไหลนองที่ดีและยั่งยืน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
##category.category##
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์