ประสิทธิผลของทางคนเดินข้ามอัจฉริยะ กรณีศึกษาทางข้ามถนนกาญจนวณิชย์ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
คนเดินเท้า ทางคนเดินข้ามอัจฉริยะ ประสิทธิผล ความเร็ว ความปลอดภัยบทคัดย่อ
ในประเทศไทย คนเดินเท้าเป็นกลุ่มผู้ใช้ทางที่มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกรถชนและได้รับความรุนแรงเมื่อถูกชน โดยมีอัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 7.6 บทความนี้นำเสนอการประเมินประสิทธิผลของทางคนเดินข้ามอัจฉริยะแบบมีสัญญาณไฟจราจรและเครื่องตรวจวัดกระแสจราจรและคนข้าม โดยเลือกทางม้าลายที่มีอยู่บนถนนกาญจนวณิชย์ช่วงก่อนถึงทางแยกน้ำกระจายเป็นกรณีศึกษา ในการศึกษาได้สำรวจข้อมูลลักษณะกายภาพ ปริมาณการจราจร ปริมาณคนเดินเท้า ความเร็วของยานพาหนะและคนเดินเท้าที่ผ่านทางม้าลาย พฤติกรรมการขับขี่และการเดินข้ามทางม้าลาย ก่อนและหลังติดตั้งทางคนเดินข้ามอัจฉริยะ ทั้งในวันทำงานและวันหยุด ช่วงเร่งด่วนและไม่เร่งด่วน ข้อมูลดังกล่าวถูกนำมาวิเคราะห์ประสิทธิผลของทางคนเดินข้ามอัจฉริยะ ทั้งประเด็นความปลอดภัยของคนข้ามและยานพาหนะที่แล่นผ่าน และประเด็นการจราจร เช่น ปริมาณการไหล และความล่าช้า ผลการศึกษา พบว่า ทางคนเดินข้ามอัจฉริยะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนข้ามอย่างชัดเจน เนื่องจากสัญญาณไฟจราจรที่ติดตั้งทำให้ยานพาหนะลดความเร็วก่อนถึงทางข้ามได้อย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งเพิ่มปริมาณคนข้ามถนนในแต่ละครั้งให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การชะลอความเร็วของยานพาหนะขณะผ่านทางข้าม อาจทำให้เกิดความล่าช้าและแถวคอยของยานพาหนะบ้าง แต่ในภาพรวมของการติดตั้งทางคนเดินข้ามอัจฉริยะนี้ได้เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางของทั้งคนเดินเท้าและยานพาหนะที่ผ่านช่วงถนนศึกษา
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์