ผลกระทบของความยาวรอบสัญญาณไฟจราจรต่อความล่าช้า การใช้เชื้อเพลิง และการปล่อยมลพิษ กรณีศึกษาทางแยกวัดโคกนาว จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • นายกนต์ธร จันทร์ลาม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
  • ปรเมศวร์ เหลือเทพ
  • สิทธา เจนศิริศักดิ์

คำสำคัญ:

รอบสัญญาณไฟจราจร, ความล่าช้าในการเดินทาง, การสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง, การปล่อยมลพิษ, มูลค่าความสูญเสียเชิงเศรษฐศาสตร์

บทคัดย่อ

ความยาวรอบสัญญาณไฟจราจรของทางแยกในเขตเมืองหลายพื้นที่ มักถูกกำหนดให้มีเวลานานซึ่งไม่สอดคล้องกับปริมาณการจราจรในแต่ละช่วงเวลา ส่งผลต่อความล่าช้าในการเดินทาง การสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง และการปล่อยมลพิษ บทความนี้เสนอผลกระทบของความยาวรอบสัญญาณไฟจราจรที่ระยะเวลาต่าง ๆ ต่อความล่าช้าในการเดินทาง การสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง การปล่อยก๊าซ CO2 และมูลค่าความสูญเสียเชิงเศรษฐศาสตร์โดยรวมจากผลกระทบข้างต้น โดยใช้ทางแยกวัดโคกนาว อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษา พบว่า การกำหนดความยาวรอบสัญญาณไฟจราจรจากปัจจุบัน 129 วินาที ให้ยังมียาวมากกว่า 120 วินาที (150 180 210 และ 240 วินาที) จะเพิ่มมูลค่าความสูญเสียเชิงเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 19 31 43 และ 51 ตามลำดับ แต่หากลดความยาวรอบสัญญาณไฟจราจรให้น้อยกว่า 120 วินาที ตามปริมาณการจราจร (90 วินาที) จะช่วยลดมูลค่าความสูญเสียเชิงเศรษฐศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญที่ร้อยละ 28 ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดรอบสัญญาณไฟจราจรที่เหมาะสมให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

จันทร์ลาม น., เหลือเทพ ป., & เจนศิริศักดิ์ ส. (2021). ผลกระทบของความยาวรอบสัญญาณไฟจราจรต่อความล่าช้า การใช้เชื้อเพลิง และการปล่อยมลพิษ กรณีศึกษาทางแยกวัดโคกนาว จังหวัดสงขลา. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, TRL-09. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/840