การประยุกต์ใช้กระบวนการแบบจำลองข้อมูลอาคารจัดทำรายการบัญชีการตัดเหล็ก
คำสำคัญ:
แบบจำลองข้อมูลอาคาร, รายการบัญชีการตัดเหล็ก, ทฤษฎีโปรแกรมเชิงเส้นบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้กระบวนการแบบจำลองข้อมูลอาคารทำรายการบัญชีการตัดเหล็ก โดยอาศัยทฤษฎีโปรแกรมเชิงเส้น ช่วยในการวิเคราะห์หาปริมาณเศษเหล็กของเสาโครงการอาคารเรียน 4 ชั้น 324ล-55 ต้านแผนดินไหว การศึกษาเริ่มจากกำหนดรูปแบบการต่อทาบเหล็กยืนที่เป็นไปได้ตามมาตรฐานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กต้านแผ่นดินไหว มยพ. 1301/1302-61 ทั้งสิ้น 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 (C1-1) ต่อทาบเหล็กยืนกึ่งกลางชั้น 2 รูปแบบที่ 2 (C1-2) ต่อทาบเหล็กยืนกึ่งกลางชั้น 3 และรูปแบบที่ 3 (C1-3) ต่อทาบเหล็กยืนกึ่งกลางทุกชั้น ด้วยซอฟท์แวร์บิม “ออโต้เดสก์ เรวิท” ประมวลผลออกมาเป็นตารางรายการบัญชีการตัดเหล็ก จากนั้นนำรูปการดัดเหล็ก (Rebar Number) ในตารางรายการบัญชีการตัดเหล็กมากำหนดตัวแปรการตัดเหล็กเพื่อหาค่าความเหมาะสมการตัดเหล็ก โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มความยาวเหล็กเส้นเป็น 3 กลุ่ม ความยาวเหล็กเส้น 10.00 เมตร 12.00 เมตร และความยาวผสมระหว่าง 10.00 เมตร กับ 12.00 เมตร ร่วมกับรูปแบบทั้ง 3 รูปแบบ พบว่า การจัดทำบัญชีรายการตัดเหล็กของเสารูปแบบ C1-2 และใช้ความยาวเหล็กเส้น 12.00 เมตร ได้ปริมาณเหล็กน้อยที่สุดคือ 34,635 กิโลกรัม เศษเหล็กเหลือ 1,832.17 กิโลกรัม คิดเป็นอัตราส่วนเศษเหล็กต่อปริมาณการใช้เท่ากับ 5.29 จึงแสดงให้เห็นว่าการใช้ทฤษฎีโปรแกรมเชิงเส้น ควบคู่ไปกับการใช้ซอฟท์แวร์บิม จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
แบบจำลองข้อมูลอาคาร, รายการบัญชีการตัดเหล็ก, ทฤษฎีโปรแกรมเชิงเส้น
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์