การเปรียบเทียบแปลงค่าพิกัดภูมิศาสตร์กับพิกัดฉากยูทีเอ็ม

  • กนกศักดิ์ ซื่อธานุวงศ์ สาขาวิศวกรรมสำรวจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
คำสำคัญ: พื้นหลักฐานอ้างอิง,เส้นโครงแผนที่,การฉายแผนที่,พิกัดภูมิศาสตร์,พิกัดฉากยูทีเอ็ม

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบแปลงค่าพิกัดภูมิศาสตร์(f,l) กับ ค่าพิกัดฉากยูทีเอ็ม(N,E) เป็นการคำนวณระบบพิกัดที่ยึดโยงกับ       พื้นหลักฐาน(Datum) ระบบพิกัด(Coordinates System) และการฉายแผนที่(Map Projection) โดยใช้สูตรสมการของ NGS(Nation Geodetic Survey) , Kruger , Snyder , Redfearn เป็นสูตรสมการในการคำนวณแปลงค่าระบบพิกัด การเปรียบเทียบระบบค่าพิกัดทำการเปรียบเทียบค่าพิกัดภายในสูตรสมการไปกลับ และเปรียบเทียบค่าระหว่างสูตรสมการ พื้นหลักฐานใช้พื้นหลักฐานอ้างอิง(WGS84 : World Geodetic System 1984) การฉายแผนที่ใช้รูปทรงกระบอกขวางรักษารูปร่าง(Transverse Mercator Projection Conformal)

ข้อมูลค่าพิกัดภูมิศาสตร์จากโครงการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทย โดยเลือกข้อมูลค่าพิกัดให้เป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด  การคำนวณแปลงค่าระบบพิกัดใช้โปรแกรมเอ็กซ์เซล โดยคำนวณบนตารางและเขียนโปรแกรมวีบีเอบนเอ็กซ์เซล

ผลการคำนวณแปลงค่าพิกัดภูมิศาสตร์(f,l) ไปเป็นค่าพิกัดฉากยูทีเอ็ม(N,E) และแปลงค่าพิกัดกลับจากค่าพิกัดฉากยูทีเอ็ม(N,E) ไปเป็นค่าพิกัดภูมิศาสตร์(f,l) ในแต่ละสูตรสมการให้ความคลาดเคลื่อนน้อยกว่ามิลลิเมตร และน้อยกว่า 0.001 พิลิปดา การเปรียบเทียบระหว่างสูตรสมการ ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ต่างกัน 0.001 พิลิปดา และค่าพิกัดฉากยูทีเอ็มต่างกันน้อยกว่ามิลลิเมตร

การเปรียบเทียบแปลงค่าพิกัดภูมิศาสตร์(f,l) กับ ค่าพิกัดฉากยูทีเอ็ม(N,E) ทำให้รู้ เข้าใจ และสามารถนำสมการสูตรไปคำนวณได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแต่ละสมการมีการพิสูจน์สูตรที่มีความคล้ายคลึงกัน แตกต่างกัน และมีการปรับปรุงการคำนวณที่เรียบง่ายขึ้น ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับระยะทาง ซึ่งก็ยังมีอีกหลายสูตร และก็ให้ผลลัพธ์ที่ยอมรับได้ในงานด้านวิศวกรรมสำรวจ

 

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้