การประมาณค่าช่วงยีออยด์อันดูเรชั่น

  • กนกศักดิ์ ซื่อธานุวงศ์ สาขาวิศวกรรมสำรวจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
คำสำคัญ: ค่าระดับ, การประมาณค่าช่วง, ยีออยด์, ยีออยด์อันดูเรชั่น, การรังวัดดาวเทียมกำหนดตำแหน่งโลก

บทคัดย่อ

การประมาณค่าช่วงยีออยด์อันดูเรชั่น เป็นการหาค่าเฉลี่ยของฐานข้อมูลยีออยด์อันดูเรชั่นในโครงการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทย โดยใช้สมการเส้นตรง(Bi-Linear) สมการเส้นโค้งกำลังสอง(Bi-Quadratic) และสมการเส้นโค้งกำลังสาม(Bi-Cubic) เปรียบเทียบกับข้อมูลยีออยด์อันดูเรชั่นของโครงการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทย

ยีออยด์อันดูเรชั่น(Geoid Undulation) เป็นค่าระยะทางดิ่งระหว่างพื้นหลักฐานอ้างอิงรูปทรงรีกับพื้นหลักฐานอ้างอิงระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยพื้นหลักฐานอ้างอิงรูปทรงรีใช้(World Geodetic System 1984 : WGS84) และพื้นหลักฐานอ้างอิงระดับน้ำทะเลปานกลางใช้วิธีการเดินระดับ(Spirit Leveling) หรือการรังวัดแรงโน้มถ่วงโลก(Gravimetry) ค่ายีออยด์อันดูเรชั่นมีความสำคัญมากกับการรังวัดด้วยดาวเทียมกำหนดตำแหน่งโลก(Global Navigation Satellite System : GNSS) เนื่องจากค่าความสูงที่รังวัดได้เป็นค่าความสูงบนพื้นหลักฐานอ้างอิงรูปทรงรี(Ellipsoid Height) ซึ่งในการก่อสร้างต้องการค่าความสูงบนระดับน้ำทะเลปานกลาง(Orthometric Height)

ฐานข้อมูลยีออยด์อันดูเรชั่นจากโครงการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทย ที่ความละเอียดขนาดหนึ่งลิปดา หรือระยะกริดประมาณ 1852x1852 เมตร ขอบเขตเริ่มต้นละติจูดที่ 3 องศาเหนือ ลองจิจูดที่ 95 องศาตะวันออก ข้อมูลกริดขนาด 780 หลัก 1200 แถว เป็นฐานข้อมูลสำหรับการประมาณค่าช่วงเพื่อหาค่าเฉลี่ยยีออยด์อันดูเรชั่น โดยการสร้างแบบจำลองบนโปรแกรมเอ็กซ์เซล และเปรียบเทียบค่ายีออยด์อันดูเรชั่นจากสมการเส้นตรง สมการเส้นโค้งกำลังสอง และสมการเส้นโค้งกำลังสาม

การประมาณค่าช่วงหาค่ายีออยด์อันดูเรชั่น ใช้ข้อมูล 411 ข้อมูล ได้ค่าต่างยีออยด์อันดูเรชั่นจากสมการเส้นตรงสูงสุด 0.032 เมตร ค่าต่ำสุด 0.000004 เมตร และอยู่ในช่วงค่าต่าง 0.000004-0.001 เมตร จำนวน 299 ข้อมูล สมการเส้นโค้งกำลังสองค่าสูงสุด 0.025 เมตร ค่าต่ำสุด 0.000001 เมตร และอยู่ในช่วงค่าต่าง 0.000001-0.001 เมตร จำนวน 319 ข้อมูล สมการเส้นโค้งกำลังสามค่าสูงสุด 0.025 เมตร ค่าต่ำสุด 0.000002 เมตร และอยู่ในช่วงค่าต่าง 0.000002-0.001 เมตร จำนวน 303 ข้อมูล

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้