การตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์ในดินเหนียวกรุงเทพโดยใช้ไมโครแคปซูลของสปอร์แบคทีเรีย
คำสำคัญ:
การปรับปรุงคุณภาพดิน, ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์, แบคทีเรียยูรีโอไลติค, ดินเหนียวกรุงเทพบทคัดย่อ
การตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงคุณภาพดินซึ่งมักให้ผลดีในดินทรายที่มีความพรุนสูง งานวิจัยนี้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้วิธีชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์ในดินเหนียว โดยเลือกใช้แบคทีเรียยูรีโอไลติคในรูปแบบของไมโครแคปซูลในสภาพแห้งด้วยเทคนิคแช่แข็งแห้งและกระตุ้นให้เกิดเอนไซม์ยูเรียเพื่อให้เกิดกิจกรรมย่อยสลายยูเรียและชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต ตัวอย่างดินที่ใช้ศึกษาเป็นดินเหนียวกรุงเทพสร้างใหม่เพื่อควบคุมปริมาณความชื้นและสัดส่วนผสมได้ง่าย จากนั้นดำเนินการทดสอบตัวอย่างดินเหนียวกรุงเทพที่ปรับปรุงด้วยการทดสอบทั้งแบบทำลายและไม่ทำลายเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติทางวิศวกรรม ทางเคมี และโครงสร้างทางจุลภาค ได้แก่ การทดสอบการรับแรงอัดแกนเดียว การทดสอบโดยคลื่นความถี่เรโซแนนท์ การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ และวิเคราะห์ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด นำผลการทดสอบทั้งหมดมาวิเคราะห์ปริมาณไมโครแคปซูลแบคทีเรียที่เหมาะสมที่จะทำให้สารเชื่อมประสานทางชีวภาพหรือตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตส่งผลให้ดินเหนียวกรุงเทพมีกำลังและความแข็งที่เหมาะต่อการนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพดิน
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์