การประยุกต์ใช้งานเสริมผิวคอนกรีตแบบไม่เชื่อมประสานสำหรับผิวทางคอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ – กรณีศึกษาจากลานจอดเครื่องบินเดิมของท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • พรเลิศ อู่สินสกุล CPAC(ซีแพค) :: บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด
  • วรุตม์ ตันติวงษ์ วย 2609, ผู้จัดการโครงการ, บริษัท พีระมิดคอนกรีต จำกัด
  • จตุพร สาเมือง

คำสำคัญ:

เททับหน้าแบบไม่เชื่อมประสาน, การออกแบบรอยต่อ, การออกแบบโครงสร้าง, ผิวทางคอนกรีตแบบรอยต่อไม่มีเหล็กเสริมกันร้าว, งานเสริมผิวทางด้วยคอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอกรณีศึกษาการปรับปรุงออกแบบและขั้นตอนการก่อสร้างที่ถูกต้องจนสามารถทำให้โครงการการปรับปรุงพื้นลานจอดเครื่องบินเดิมขนาด 45,000 ตร.ม. โดยการเททับหน้าแบบไม่เชื่อมประสานด้วยคอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ณท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เนื่องจากโครงสร้างพื้นลานจอดเครื่องบินเดิมที่ใช้งานมาระยะหนึ่ง เกิดการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน อาทิ เกิดการแตกร้าว มีน้ำขัง และผิวหน้าหลุดร่อน เป็นต้น จึงจำเป็นต้องซ่อมแซมเพื่อให้สามารถใช้งานได้ดีตามปกติ และยืดอายุการใช้งานคงเหลือออกไป โดยใช้วิธีการออกแบบซ่อมแซมผิวคอนกรีตตามแนวทางของ AASHTO และจากการสำรวจพื้นลานจอดเดิมพบว่า โครงสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตเดิมยังคงมีความแข็งแรงดี ดังนั้นการซ่อมแซมโดยใช้วิธีการเททับหน้าแบบไม่เชื่อมประสาน จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะสามารถซ่อมได้ง่าย รวดเร็ว ประหยัด และคุ้มค่า เนื่องจากไม่ต้องรื้อพื้นลานบินเดิมออก อย่างไรก็ตามวิธีการนี้จะต้องพิจารณาถึงความหนาของพื้นลานจอดเดิม รวมถึงวิธีการออกแบบรอยต่อให้ถ้วนถี่ด้วย

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

อู่สินสกุล พ., ตันติวงษ์ ว., & สาเมือง จ. . (2023). การประยุกต์ใช้งานเสริมผิวคอนกรีตแบบไม่เชื่อมประสานสำหรับผิวทางคอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ – กรณีศึกษาจากลานจอดเครื่องบินเดิมของท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, INF13–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2612