การปฏิบัติงานและความตระหนักด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้าง กรณีศึกษาของพนักงานบริษัท 7 มกรา จำกัด
การปฏิบัติงานและความตระหนักด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
คำสำคัญ:
ความตระหนักในความปลอดภัย, พฤติกรรมด้านความปลอดภัย, ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปฏิบัติงานและความตระหนักด้านความปลอดภัยของพนักงานบริษัท 7 มกรา จำกัด และ (2) เน้นย้ำอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานหากพนักงานไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ (3) ใช้ในการวางแผนให้พนักงานปฏิบัติงานตามข้อกำหนดขององค์ประกอบต่างๆ ของระบบการจัดการด้านความปลอดภัย (4) นำผลวิเคราะห์มาปรับปรุงเพื่อพัฒนาพนักงานขององค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานบริษัท 7 มกรา จำกัดจำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) t-test และสถิติ one-way anova ผลการศึกษาพบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ และระดับการ ศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานและความตระหนักด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพศที่ต่างกันของพนักงานเป็นตัวแปร ที่ทำให้มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและความตระหนักด้านความปลอดภัย พนักงานที่มีอายุต่างกันก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่เป็นปัจจัย ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ระดับการศึกษาก็มีผลที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เพราะพนักงานส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในเรื่องของอุบัติเหตุจากการทำงาน ส่วนตำแหน่งงาน และรายได้ ที่ต่างกัน ไม่มีผล กระทบต่อการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการลดอุบัติเหตุในหน่วยงาน และสร้างพฤติกรรมให้พนักงานตระหนักถึงความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ