การคาดการณ์น้ำท่วมแบบ Near Real Time (NRT) สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ด้วยแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า-น้ำหลาก

ผู้แต่ง

  • พงษ์สิทธิ์ ผลสมบูรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การคาดการณ์น้ำท่วมแบบ Near Real Time, ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่, แบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า-น้ำหลาก

บทคัดย่อ

อุทกภัยเป็นสาธารณภัยที่เกิดจากฝนตกหนัก และฝนตกสะสมเป็นเวลานาน ซึ่งสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศน์อย่างมาก สำหรับประเทศไทย ในระยะหลังปัญหาอุทกภัยเริ่มมีความรุนแรงขึ้น มีมูลค่าความเสียหายสูงมากขึ้น โดยอุทกภัยที่มีความสูญเสียมากที่สุด คือ มหาอุทกภัย ปี พ.ศ. 2554 ที่มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท สำหรับการคาดการณ์น้ำท่วมแบบ Near-Real-Time (NRT) จะมีส่วนช่วยในการลดความรุนแรง บรรเทาผลกระทบและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการคาดการณ์น้ำท่วมแบบ Near Real Time ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ด้วยแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า-น้ำหลาก (RRI model) โดยขั้นแรกจะทำการจำลองระดับน้ำ อัตราการไหลในแม่น้ำ และความสูงน้ำท่วมจากข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัด เช่น ปริมาณน้ำฝน การระเหย และการปล่อยเขื่อน เป็นต้น จากนั้นนำข้อมูลน้ำฝนพยากรณ์ล่วงหน้า 10 วันของกรมอุตุนิยมวิทยา และผลที่ได้จากขั้นแรกมาใช้ในการคาดการณ์น้ำท่วม ซึ่งกราฟน้ำท่าและแผนที่น้ำท่วมที่ได้จากการคาดการณ์น้ำท่วมแบบ Near Real Time จะถูกนำไปใช้ในการเตือนภัยล่วงหน้าซึ่งอาจช่วยลดความเสียหายจากน้ำท่วมได้ อย่างไรก็ตามแบบจำลอง NRT Flood Forecasting ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่ ซึ่งอาจเกิดจากความคลาดเคลื่อนสะสม ดังนั้นในการศึกษาเบื้องต้นนี้จะนำไปสู่การพัฒนาต่อไปให้มีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

ผลสมบูรณ์ พ., & ศรีอริยวัฒน์ อ. (2023). การคาดการณ์น้ำท่วมแบบ Near Real Time (NRT) สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ด้วยแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า-น้ำหลาก. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, WRE06–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2583