การศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของวัสดุซีเมนต์สำหรับการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์คอนกรีต 3 มิติ ที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก เป็นสัดส่วนผสม

  • ทศวัฒน์ ดวงวิไลลักษณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประสาน ขันธรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สลิลลาลัญ ตั้งเสถียร ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วีรนันท์ มณีรัฐรุ่งเรือง ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คำสำคัญ: เครื่องพิมพ์ 3 มิติ, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์, ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิค, วัสดุที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันงานก่อสร้างยังคงมีปัญหาหลายอย่างที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เครื่องพิมพ์คอนกรีต 3 มิติ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาในด้านของต้นทุนวัสดุและค่าแรงที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นในอนาคต เนื่องจากใช้แรงงานน้อยและไม่ต้องใช้ไม้แบบ อย่างไรก็ตาม ในการพิมพ์คอนกรีตจำเป็นต้องใช้วัสดุซีเมนต์ (Cementitious materials) สำหรับการพิมพ์โดยเฉพาะ โดยจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม อาทิ ความสามารถในก่อตัว และเสถียรภาพขณะพิมพ์ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาเปรียบเทียบคอนกรีตสำหรับใช้ในการพิมพ์ชิ้นส่วนโครงสร้าง 3 มิติ ที่ใช้ปูนซีเมนต์ 2 ชนิดที่แตกต่างกันเป็นส่วนผสม ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก เนื่องจากปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกนั้นมีข้อดีคือลดการปล่อยคาร์บอน (Carbon emission) ในขั้นการผลิตซึ่งนับว่าเป็นวัสดุที่มีความยั่งยืน โดยจะทำการทดสอบคุณสมบัติทางกล ได้แก่ การไหลแผ่ ระยะเวลาการก่อตัวและกำลังรับแรงอัด จากนั้นจะวิเคราะห์เปรียบเทียบผลที่ได้เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของการใช้ปูนทั้ง 2 ชนิดในการพิมพ์ขึ้นรูปคอนกรีต

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-05