การประเมินพื้นที่น้ำท่วมในลุ่มน้ำลำพระเพลิงด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD

ผู้แต่ง

  • ธนภัทร อุทารสวัสดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา, ประเทศไทย
  • ปรียาพร โกษา
  • ธนัช สุขวิมลเสรี

คำสำคัญ:

ลุ่มน้ำลำพระเพลิง, พื้นที่น้ำท่วม, แบบจำลอง MIKE FLOOD

บทคัดย่อ

ลุ่มน้ำลำพระเพลิงเป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ต้นน้ำในจังหวัดนครราชสีมา เมื่อเกิดฝนตกหนักทำให้หลายครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ เช่น ในปี 2553 และปี 2563 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และการอยู่อาศัยของประชากรในพื้นที่อย่างมาก การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ณ คาบการเกิดซ้ำ 5 10 25 50 และ 100 ปี ด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD ซึ่งมีแบบจำลองย่อยคือ แบบจำลอง MIKE NAM เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณน้ำท่าที่เกิดขึ้นจากข้อมูลน้ำฝน แบบจำลอง MIKE-HD เพื่อคำนวณหาการไหลของแม่น้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และแบบจำลอง MIKE 21 เพื่อจำลองสภาพการไหลของน้ำผิวดินแบบอิสระในสองมิติ โดยใช้ข้อมูลรายวันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 และผลการสอบเทียบตรวจพิสูจน์จำลองทั้งหมดพบว่า แบบจำลอง MIKE NAM มีค่า WBL ระหว่าง 1.0% - 12.3% และค่า R2 ระหว่าง 0.772 - 0.849 แบบจำลอง MIKE-HD มีค่า NSE ระหว่าง 0.906 – 0.916 และค่า R2 ระหว่าง 0.918 - 0.927 จากผลการศึกษาพบว่า พื้นที่น้ำท่วม ณ คาบการเกิดซ้ำ 5 10 25 50 และ 100 ปี เท่ากับ 25.53, 37.28, 48.42, 55.63, 61.83 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.10, 1.60, 2.08, 2.39, 2.66 ของพื้นที่ลุ่มน้ำลำพระเพลิง ตามลำดับ ซึ่งตำบลตูม อำเภอปักธงชัย มีพื้นที่น้ำท่วมสูงที่สุดของทุกคาบการเกิดซ้ำ โดยมีพื้นที่น้ำท่วมเท่ากับ 4.60, 6.35, 7.68, 8.58, 9.56 ตารางกิโลเมตร ณ คาบการเกิดซ้ำ 5 10 25 50 และ 100 ปี ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

อุทารสวัสดิ์ ธ., โกษา ป., & สุขวิมลเสรี ธ. (2023). การประเมินพื้นที่น้ำท่วมในลุ่มน้ำลำพระเพลิงด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, WRE17–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2543