สมบัติของคอนกรีตผสมเศษมวลรวมและน้ำยาเคลือบโพลิเมอร์

ผู้แต่ง

  • ปัณณภัสร์ ปัณณภัสร์ เฮงเติม
  • ประกาศิต โสไกร
  • ณัฏฐ์​ มากุล สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

เศษมวลรวมคอนกรีต, น้ำยาเคลือบโพลิเมอร์, คอนกรีตสมรรถนะสูง, กำลังอัด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมบัติของคอนกรีตผสมเศษมวลรวมจากเศษคอนกรีตและน้ำยาเคลือบโพลิเมอร์ โดยใช้เศษมวลรวมจากเศษคอนกรีตซึ่งผ่านการบดในช่วงขนาดอนุภาคตั้งแต่ 0.15 ถึง 25.0 มม. มาทำการผสมเป็นคอนกรีตสมรรถนะสูงที่มีอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) โดยน้ำหนักเท่ากับ 0.34 และใช้ทั้งเป็นมวลรวมละเอียดและมวลรวมหยาบเปรียบเทียบกับคอนกรีตที่ผสมทรายแม่น้ำ (NAR) และหินปูนบด (NCA) ตามมาตรฐาน ASTM C33 และผสมน้ำยาเคลือบโพลิเมอร์ที่อัตราส่วนร้อยละ 5 โดยน้ำหนักของน้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีต สมบัติของคอนกรีตที่ทำการทดสอบได้แก่ กำลังอัดและความสมบูรณ์ของคอนกรีตด้วยคลื่นความถี่สูง จากผลการทดสอบพบว่าน้ำยาเคลือบโพลิเมอร์มีผลต่ออัตราการพัฒนากำลังอัดลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตควบคุมและลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่ออายุเพิ่มขึ้นจนถึงที่อายุ 28 วัน มีค่าลดลงของกำลังอัดคอนกรีตควบคุม แต่อย่างก็ตามคอนกรีตผสมเศษมวลรวมละเอียด (RCAF) และหินปูนบด (NCA) อัตราการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อผสมน้ำยาเคลือบโพลิเมอร์ชนิดที่ 1 (PA1) มีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.26

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-06

วิธีการอ้างอิง

ปัณณภัสร์ เฮงเติม ป., โสไกร ป., & มากุล ณ. (2023). สมบัติของคอนกรีตผสมเศษมวลรวมและน้ำยาเคลือบโพลิเมอร์. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, MAT22–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2519