การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการก่อสร้างทางเท้าและทางจักรยานโดยใช้วัสดุรีไซเคิลสำเร็จรูป

  • จอมพล เณรน้อย วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี มหานคร
คำสำคัญ: ทางจักยาน, กระบวนการวิเคราะห์เชิงโครงข่าย, การก่อสร้าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาประเภททางจักรยานที่เหมาะสม โดยงานวิจัยนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักโดยในส่วนแรกจะศึกษาลักษณะทางกายภาพและข้อเด่นข้อด้อยของทางจักรยานในแต่ละแบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วย ทางจักรยานแบบกรวด, ทางจักรยานแบบ spray seal treatment, ทางจักรยานแบบพื้นผิวคอนกรีต, ทางจักรยานแบบ Asphalt Surface, ทางจักรยานแบบ Concrete Block Pavers (CBPs) และทางจักรยานแบบ Recycle plastic road โดยการศึกษาส่วนที่สอง จะเป็นการนำกระบวนการวิเคราะห์เชิงโครงข่าย (Analytic Network Process, ANP) มาวิเคราะห์หาทางจักยานที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับกรณีศึกษา ภายใต้หลักเกณฑ์หลัก 3 ประการ และหลักเกณฑ์รอง 10 ประการ ได้แก่ 1.ปัจจัยด้านการก่อสร้าง ซึ่งจะประกอบไปด้วยต้นทุนราคาค่าก่อสร้าง, ระยะเวลาในการก่อสร้าง และความยุ่งยากในก่อสร้าง 2.ปัจจัยด้านประสิทธิภาพทางวิ่ง ซึ่งจะประกอบไปด้วย คุณภาพของผิวทาง, อายุการใช้งาน, ความสวยงามของผิวทาง และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.ปัจจัยด้านการซ่อมบำรุง ซึ่งจะประกอบไปด้วย ความสะดวกในการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุง, ราคาค่าซ่อมบำรุง และการปรับเปลี่ยนในอนาคต โดยจัดทำแบบสอบถาม-สัมภาษณ์ แก่ผู้ดำเนินงานการก่อสร้างถนน ผู้รับเหมา และผู้ใช้งานทางจักรยาน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์เชิงโครงข่าย (ANP) เพื่อหาประเภททางจักรยานที่เหมาะสม

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09