กรณีศึกษาการปรับปรุงแบบอาคารชุดพักอาศัยเพื่อขอการรับรองมาตรฐานอาคารเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (well building) ในประเทศไทย

  • เกศินี ศาสตร์ศิริ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • กวิน ตันติเสวี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
คำสำคัญ: มาตรฐาน, กระบวนการพัฒนา, อุปสรรคในการพัฒนา, อาคารพักอาศัย, ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ

บทคัดย่อ

ในปัจจุบัน ผู้ที่กำลังเลือกซื้อที่พักอาศัยนั้นให้ความสำคัญกับลักษณะสภาพแวดล้อม บรรยากาศและสุขภาวะของโครงการมากขึ้น มาตรฐาน Well เป็นหนึ่งในมาตรฐานที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กร The International WELL Building Institute (IWBI) จากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าโครงการที่พักอาศัยที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานนั้น ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงสุขอนามัย สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัย การรับรองมาตรฐาน WELL ในเวอร์ชันที่ 1 นั้นจะเน้นไปที่อาคารเชิงพานิชย์และสถาบัน อย่างไรก็ตาม โครงการประเภทอื่นสามารถขอการรับรองผ่าน WELL Pilot Program ซึ่งในงานวิจัยนี้สนใจไปที่การรับรองมาตรฐาน Well Pilot Program v1 ประเภทอาคารชุดพักอาศัย (Multifamily residences) มาตรฐาน WELL แบ่งเกณฑ์การประเมินออกเป็นสามระดับ ได้แก่ SILVER , GOLD , PLATINUM โดยพิจารณาคุณลักษณะของอาคาร 7 ด้าน ได้แก่ อากาศ น้ำ สาธารณูปโภค แสง การออกกำลังกาย สภาพแวดล้อม และจิตใจ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาอาคารเพื่อขอการรับรองตามมาตรฐาน WELL โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมเอกสาร สัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่ได้รับรองตามมาตรฐาน WELL Multifamily Certified TM ระดับ Gold นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังได้วิเคราะห์ต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงแบบอาคาร ตลอดจนศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนามาตรฐานอาคาร ผลการศึกษาที่ได้สามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังวางแผนพัฒนาโครงการลักษณะนี้ในอนาคต

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้