การประเมินความถูกต้องทางตำแหน่งการรังวัดด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับในพื้นที่เหมืองเปิด แบบไม่ใช้จุดควบคุมภาคพื้นดินด้วยวิธีการแปลงพิกัด

  • สรศักดิ์ ชัยทวี ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ฐิติน บัวทอง บริษัท ส.เต็งไตรรัตน์ (น่าน) จำกัด
คำสำคัญ: อากาศยานไร้คนขับ, ความถูกต้องทางตำแหน่ง, การแปลงพิกัด

บทคัดย่อ

การรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศจาก UAV ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากอุปกรณ์มีราคาที่เข้าถึงได้ การบินสำรวจและการประมวลผลสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ ทำให้บุคคลทั่วไปนิยมนำมาใช้ในงานสำรวจมากขึ้น การสำรวจที่แม่นยำต้องอาศัยเครื่องมือสำรวจด้วยดาวเทียม GNSS แบบสองความถี่ด้วยวิธีแบบสัมพัทธ์ ในการกำหนดตำแหน่งให้กับ UAV หรือจุดควบคุมภาคพื้นดิน (GCP) ซึ่งอุปกรณ์มีราคาที่ค่อนข้างแพง ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ยาก อย่างไรก็ตามการรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศมีการประยุกต์ใช้งานในหลายด้าน ซึ่งต้องการความถูกต้องที่แตกต่างกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้ทดสอบความถูกต้องทางตำแหน่งการรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศจาก UAV ในพื้นที่เหมืองเปิดที่ความลาดชันสูง โดยไม่ใช้ GCP แต่เนื่องด้วยการกำหนดตำแหน่งของ UAV กับจุดตรวจสอบความถูกต้องใช้วิธีแตกต่างกัน ดังนั้นต้องแปลงค่าพิกัดให้อยู่ในระบบเดียวกัน เพื่อทดสอบความถูกต้อง ผลการทดสอบความถูกต้องทางราบมีค่า RMSEr เท่ากับ 0.144 เมตรและทางดิ่งมีค่า RMSEz เท่ากับ 0.470 เมตร ค่าความถูกต้องที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ทางราบอยู่ที่ 0.230 เมตร และทางดิ่งอยู่ที่ 0.913 เมตร ซึ่งข้อมูลทางราบสามารถใช้ทำแผนที่ตามมาตรฐานในมาตราส่วนเล็กกว่า 1:400 สามารถประยุกต์ใช้ตามมาตรฐานงานแผนที่และ GIS ส่วนความถูกต้องทางดิ่งสามารถใช้ทำแผนที่เส้นชั้นความสูงตามมาตรฐานกำหนดช่วงเส้น 1.400 เมตรขึ้นไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09