ลักษณะของผู้ใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้า

  • ภานุทัต วีระชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี
  • รศ.ดร.วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี
คำสำคัญ: การใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้า, จักรยาน, การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกส์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีการขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าตามการเจริญเติบโตของเมือง ซึ่งจักรยานเป็นพาหนะชนิดหนึ่งที่มีความคล่องตัวสูงสามารถเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าว่าเป็นใครและได้ใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าอย่างไร โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างของผู้เดินทางด้วยรถไฟฟ้าจากแบบสอบถามโดยการสัมภาษณ์ผู้ที่อาศัยรอบสถานีรถไฟฟ้าในระยะไม่เกิน 3 กิโลเมตรจากสถานี และสัมภาษณ์ที่สถานีรถไฟฟ้า จากการสังเกตลักษณะของผู้ใช้รถไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 68.4 อายุอยู่ในช่วง 21 – 40 ปี มีอาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานในองค์กรและเป็นเจ้าของกิจการ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีรายได้อยู่ในช่วง 20,000 ถึง 30,000 บาท มีจุดประสงค์การเดินทางเพื่อไปทำงาน โดยระยะทางจากที่พักอาศัยไปยังสถานีเฉลี่ย 1.36 กิโลเมตร และผู้ที่ใช้จักรยานเพื่อเชื่อต่อรถไฟฟ้าร้อยละ 52.6 มีรถจักรยานอย่างน้อย 1 คัน มีการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันร้อยละ 81.6 จากการวิเคราะห์ลักษณะของผู้ใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้าจะมีลักษณะได้แก่ มีวัตถุประสงค์เพื่อไปทำงาน การมีจักรยานในครอบครอง และใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09