การวิเคราะห์ความเปราะบางของโครงข่ายทางรถไฟในประเทศไทย

  • ดรุณี ทองสุข ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภัทรศยา วราภิวัฒนพงศ์
  • ศิริยากรณ์ แกมขุนทด
  • รัฐพงศ์ มีสิทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี
คำสำคัญ: โครงข่ายระบบราง, ความเปราะบาง, การเกิดเหตุขัดข้อง

บทคัดย่อ

ระบบขนส่งทางรางมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการเกิดเหตุขัดข้อง (Disruption) บนโครงข่ายทางรถไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภัยพิบัติธรรมชาติยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการให้บริการระบบขนส่งทางราง บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์หาจุดเปราะบางของโครงข่ายทางรถไฟไทยอันเนื่องมาจากปัญหาอุทกภัย การศึกษาเป็นระดับมหภาค (Macroscopic level) โดยใช้วิธี Flow-based method ในการวิเคราะห์ผลกระทบของโครงข่ายทางรถไฟเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง และใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ในการวิเคราะห์หาโอกาสการเกิดอุทกภัยบนโครงข่ายทางรถไฟ ผลการศึกษาพบว่าเส้นทางรถไฟในประเทศไทยที่มีความเปราะบางสูงสุด 10 อันดับแรกจะอยู่ในช่วงภาคกลางและภาคกลางตอนบนซึ่งเป็นที่ลุ่มและเป็นที่รองรับน้ำจากภาคเหนือจึงทำให้ทางรถไฟในบริเวณนี้มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยค่อนข้างมาก ผู้บริหารหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปจัดลำดับมาตรการและวางแผนงบประมาณเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยบนโครงข่ายทางรถไฟ รวมถึงจัดการระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยให้มีความยืดหยุ่น (Resilience) และมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) มากขึ้น

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09