การประเมินประสิทธิภาพของแอโนดในการยับยั้งการกัดกร่อน ของเหล็กเสริมในคอนกรีต โดยวิธีการเร่งปฏิกิริยาไฟฟ้า

ผู้แต่ง

  • รัตชัยน์ สลับศรี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ศุภกร ประพัสสร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

คำสำคัญ:

สนิมเหล็ก, คอนกรีตเสริมเหล็ก, การเร่งปฏิกิริยาสนิม, การวัดค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้นำเสนอการศึกษาประสิทธิภาพการป้องกันสนิมของเหล็กเสริมโดยวิธีกัลป์วานิกคาโทดิก โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแอโนด ได้แก่ สังกะสี, อะลูมิเนียม และแมคนีเซียม เมื่อใช้วัสดุผสมเพิ่มที่แตกต่างกัน คือ ซีเมนต์ประเภทที่ 5 เถ้าลอย 35% และเถ้าแกลบที่ 10%, 20%, และ 30% ซึ่งมีตัวอย่างทดสอบทั้งหมด 24 ตัวอย่างทดสอบ ทำการทดสอบโดยการติดตั้งแอโนดกับเหล็กเสริมในคอนกรีตขนาด 20 x 80 x 10 เซนติเมตร เมื่อตัวอย่างทดสอบมีอายุที่ 28 วัน ทำการจำลองโครงสร้างใกล้ทะเลโดยการแช่ตัวอย่างทดสอบในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ที่ 4% และทำการเร่งปฏิกิริยาสนิมของเหล็กเสนิมด้วยวิธีเซลล์ไฟฟ้าเคมี จากนั้นทำการประเมินการเกิดสนิมด้วยวิธีไฟฟ้าครึ่งเซลล์ตามมาตรฐาน ASTM C876 ทำการตรวจสอบสภาพเหล็กเสริม และปริมาณคลอไรด์ภายในตัวอย่างทดสอบด้วยวิธีไทเทรต ผลการทดสอบพบว่าแอโนดสังกะสีมีประสิทธิภาพดีที่สุด จากการตรวจสอบสภาพภายนอกของเหล็กเสริม โดยที่แอโนดแมทนีเซียมมีประสิทธิภาพต่ำที่สุด ในส่วนของวัสดุผสมเพิ่มพบว่าตัวอย่างที่ใช้ซีเมนต์ประเภทที่ 5 มีแนวโน้วที่สามารถต้านทานคลอไรด์ และป้องกันการเกิดสนิมได้ดีกว่าตัวอย่างทดสอบอื่น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-06

วิธีการอ้างอิง

สลับศรี ร., & ประพัสสร ศ. (2023). การประเมินประสิทธิภาพของแอโนดในการยับยั้งการกัดกร่อน ของเหล็กเสริมในคอนกรีต โดยวิธีการเร่งปฏิกิริยาไฟฟ้า. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, MAT33–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2299