การประเมินการแก้ไขปัญหาการจราจรโดยวิธีการตัดสลับทิศทางจราจร กรณีศึกษาต่างระดับพญาไท ทางพิเศษศรีรัช

ผู้แต่ง

  • เกื้อกูล เอี่ยมชูแสง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • นันทวรรณ พิทักษ์พานิช
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการจราจร, การตัดสลับทิศทางการจราจร, อัตราการไหลของจราจร, ทางร่วมต่างระดับ

บทคัดย่อ

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เก็บข้อมูลการจราจรบนทางพิเศษ เพื่อนำมาบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาการจราจรในภาพรวม จากข้อมูล พบว่า ทางพิเศษศรีรัช บริเวณต่างระดับพญาไท (ทิศทางมุ่งหน้าประชาชื่น) ในช่วงเวลาเร่งด่วนเย็น (16.00 – 19.00 น.) มีปริมาณจราจรเดินทางจากในเมืองออกนอกเมืองเป็นจำนวนมาก จนเกิดเป็นปัญหาท้ายแถวคอยสะสมระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และเกิดอุบัติเหตุจากการเบียดเฉี่ยวชนกรณีแย่งใช้ช่องทาง ซึ่งปัญหาการเกิดอุบัติเหตุนั้นสอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพที่เป็นทางร่วมของ 2 ทิศทาง คือ ทิศทางจากอโศก และทิศทางจากบางโคล่เพื่อมุ่งหน้างามวงศ์วาน จากปัญหาดังกล่าว กทพ. จึงได้ดำเนินมาตรการบริหารจัดการจราจรโดยเลือกใช้วิธีการตัดสลับทิศทางการจราจร คือ การ ปิด/เปิด การจราจรทิศทางจากบางโคล่ ทุกๆ 5 นาที โดยมีเจ้าหน้าที่จราจรทำหน้าที่ตัดสลับการจราจรทุก ๆ 5 นาที เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาแถวคอยสะสม และลดการเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน ซึ่งผลจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว พบว่า ในช่วงเวลา 16.00 – 19.00 น. ทิศทางจากอโศกมีอัตราการไหลของการจราจรเฉลี่ยมากขึ้นร้อยละ 8.56 และความยาวช่วงชะลอความเร็วลดลงร้อยละ 38 และทิศทางจากบางโคล่มีอัตราการไหลของการจราจรเฉลี่ยมากขึ้นร้อยละ 7.77 และความยาวช่วงชะลอความเร็วลดลงร้อยละ 21.1 ดังนั้น มาตรการการตัดสลับนี้จะช่วยให้ปัญหาแถวคอยสะสมลดลง อัตราการไหลดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

เอี่ยมชูแสง เ., พิทักษ์พานิช น., & รัตนปัญญากร เ. . . (2023). การประเมินการแก้ไขปัญหาการจราจรโดยวิธีการตัดสลับทิศทางจราจร กรณีศึกษาต่างระดับพญาไท ทางพิเศษศรีรัช. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL46–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2298