การศึกษาเปรียบเทียบการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และการปล่อยมลพิษระหว่างการใช้ทางยกระดับ และถนนพื้นราบ โดยการใช้กล้องบันทึกภาพหน้ารถยนต์ชนิดบันทึกพิกัดโลก

  • วิทวงศ์ กาญจนชมภู บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง
  • เอกรินทร์ เหลืองวิลัย
  • นครินทร์ ผอมจีน
  • ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย
คำสำคัญ: ทางพิเศษ, ทางยกระดับ, ระยะเวลาเดินทาง, น้ำมันเชื้อเพลิง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเปรียบเทียบการประเมินปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง/การปล่อยมลพิษทางอากาศ และระยะเวลาการเดินทาง ระหว่างการใช้เส้นทางยกระดับกับถนนพื้นราบ ที่บริเวณจุดต้นทางปลายทางเดียวกัน แต่การวัดปริมาณการใช้น้ำมันโดยตรงทำได้ยาก ซึ่งปัจจุบันกล้องที่ติดตั้งหน้ารถยนต์ สามารถบันทึกข้อมูล เวลา ความเร็วในการเดินทาง (Speed Trajectorial Data) รวมถึงตำแหน่ง ที่มีการบันทึกข้อมูลที่มีความละเอียดเพียงพอ หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง จึงได้นำข้อมูลที่ได้จากกล้องหน้ารถยนต์มาคำนวณโดยใช้ Power Based-Motor Vehicle Model ในการประมาณหาปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และมลพิษทางอากาศ (CO, CO2, HC, NOx) จากนั้นนำข้อมูลมาเปรียบเทียบผลความประหยัดจากการใช้เส้นทางยกระดับเปรียบเทียบกับถนนพื้นราบ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากมูลค่าของเวลา ปริมาณการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง และการปล่อยมลพิษทางอากาศ จากผลทดสอบการใช้ทางยกระดับสามารถได้ผลประโยชน์มากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี และโอกาสการเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่าถนนพื้นราบที่มีสภาพการจราจรเคลื่อนตัวได้ช้าสลับหยุดนิ่งอย่างมีนัยสำคัญจากการศึกษานี้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้