การประมาณระยะเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินงานสำหรับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ด้วยวิธี PERT/CPM

ผู้แต่ง

  • วศิน นันตสุข ภาควิชาการจัดการวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร
  • นัทกาญจน์ ประเสริฐสังข์
  • พิทักษ์ ปักษานนท์

คำสำคัญ:

เทคนิควิธีประเมินผลงานและปรับปรุงแก้ไข, วิธีเส้นทางวิกฤติ, แผนงานก่อสร้าง

บทคัดย่อ

สำหรับกรอบระยะเวลาในโครงการก่อสร้าง มักเป็นปัญหาให้กับทีมบริหารโครงการเสมอ โครงการก่อสร้างทั่วไปที่มีระยะเวลาในการดำเนินงานมากเกินความเป็นจริง ซึ่งขาดการบริหารจัดการโครงการที่ดีนั้น ทำให้ส่งผลเสียต่อเจ้าของโครงการ จากการที่ จำเป็นจะต้องใช้สิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นหาผลประโยชน์ ทำให้สูญเสียรายได้ในส่วนที่จะต้องได้จากส่วนระยะเวลาที่ใช้เกินความเป็นจริงในการก่อสร้าง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เทคนิควิธีประเมินผลงานและปรับปรุงแก้ไข ( Project Evaluation and Review Technique ; PERT ) และ วิธีเส้นทางวิกฤติ ( Critical Path Method ; CPM ) ศึกษาวิธีการวางแผนงานก่อสร้าง และเปรียบเทียบหาระยะเวลาในการดำเนินงานที่เหมาะสม จากโครงการตัวอย่างจำนวน 5 โครงการ ที่มีประเภทของงานก่อสร้างในลักษณะงานที่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาโดยการจำลองแผนการดำเนินงานที่อ้างอิงจากแผนการดำเนินงานจริง พบว่า ทั้ง 5 โครงการ จากความน่าจะเป็นที่งานจะแล้วเสร็จคือ 50% , 70% และ 90% ได้ระยะเวลาในการดำเนินงานที่เหมาะสมเฉลี่ยจากระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญา คือ 73.99% , 82.19% และ 89.52% ตามลำดับ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

วิธีการอ้างอิง

นันตสุข ว., ประเสริฐสังข์ น., & ปักษานนท์ พ. (2023). การประมาณระยะเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินงานสำหรับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ด้วยวิธี PERT/CPM. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, CEM05–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2286