แนวทางการออกแบบราวกันตกอะคริลิกในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • คะณาธิป เรืองหิรัญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • อาทิตย์ เพชรศศิธร

คำสำคัญ:

แผ่นราวกันตก, กระจกเทมเปอร์, แผ่นอะคริลิก, แรงลมของประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาแนวทางการออกแบบราวกันตกอะคริลิกในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางในการออกแบบวัสดุแผ่นราวกันตกอะคริลิก และเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล อย่างปลอดภัย เพื่อวิเคราะห์แรงลมที่เกิดขึ้นกับแผ่นราวกันตกในพื้นที่ประเทศไทยโดยใช้มาตรฐานการวิเคราะห์แรงลม มยผ.1311-50 และเพื่อศึกษาพฤติกรรมของวัสดุแผ่นวัสดุราวกันตกอะคริลิกที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับแรง โดยจัดกลุ่มภาคต่าง ๆของพื้นที่ในประเทศไทยตามความเร็วลมอ้างอิงที่เกิดขึ้นแล้วนำแรงลมที่เกิดขึ้นเหล่านั้นมาศึกษาโดยวิธีการวิเคราะห์ผลด้วยวิธีการ Finite Element โดยใช้ซอฟท์แวร์ SJ-MEPLA จึงสรุปเป็นข้อมูลผลการวิเคราะห์สำหรับออกแบบราวกันตกและเสนอแนวทางการออกแบบราวกันตก โดยสรุปผลได้ดังนี้คือ ในกรณีติดตั้งแผ่นราวกันตกอะคริลิกที่ความสูง ตั้งแต่ 6 เมตร ถึง 40 เมตร ผู้ติดตั้งสามารถออกแบบการติดตั้งราวกันตกอะคริลิกความหนา 10 มิลลิเมตร ได้อย่างปลอดภัยทุกกรณี แต่ในกรณีติดตั้งแผ่นราวกันตก ที่มีความสูง มากกว่า 40 เมตร ถึง 80 เมตร ควรติดตั้งแผ่นราวกันตกที่มีความหนามากกว่า 10 มิลลิเมตร เป็นต้นไป เพื่อสามารถรับแรงลมในพื้นที่ประเทศไทยได้อย่างปลอดภัย

Downloads

Download data is not yet available.

ประวัติผู้แต่ง

คะณาธิป เรืองหิรัญ, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21

วิธีการอ้างอิง