การประเมินความถูกต้องเชิงตำแหน่งของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ต้นทุนต่ำ สำหรับนำมาใช้ในการเฝ้าติดตามแผ่นดินถล่ม

ผู้แต่ง

  • พรชัย พรชัยพูลทวี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พุทธิพล ดำรงชัย
  • เขตโสภณ ภิญโญ

คำสำคัญ:

จีเอ็นเอสเอส, อาร์ทีเค, การเคลื่อนตัวของแผ่นดิน

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันระบบดาวเทียมแบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Navigation Satellite System: GNSS) ได้ถูกนำมาใช้ในการเฝ้าติดตามการเคลื่อนตัวของแผ่นดินอย่างแพร่หลาย โดยนำเทคนิคการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบสัมพัทธ์และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบยีออเดติกมาใช้ในการรังวัด ทำให้ได้ค่าพิกัดที่มีความถูกต้องเชิงตำแหน่งสูง แต่อย่างไรก็ตามการนำเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบยีออเดติกมาใช้ในการเฝ้าติดตามการเคลื่อนตัวของแผ่นดินยังมีข้อจำกัดอยู่ คือราคาที่ค่อนข้างสูง ในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การทดสอบความถูกต้องเชิงตำแหน่งของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ต้นทุนต่ำซึ่งประกอบขึ้นจากบอร์ดรับสัญญาณดาวเทียมยี่ห้อ u-blox รุ่น ZED-F9P และจานรับสัญญาณราคาประหยัด โดยได้เลือกใช้เทคนิคการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ในทันที (Real Time Kinematic : RTK) ซึ่งมีจุดเด่นคือสามารถให้ค่าพิกัดที่มีความถูกต้องสูงได้แบบทันทีทันใด ผู้วิจัยจำลองการเคลื่อนตัวของแผ่นดินจากการนำเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ต้นทุนต่ำและเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบยีออเดติกมาติดตั้งบนเสาทดสอบที่สามารถเคลื่อนที่ได้ในแนวราบและแนวดิ่ง จากนั้นแบ่งการทดสอบออกเป็นการเคลื่อนตัวแนวราบ และการเคลื่อนตัวแนวดิ่ง เพื่อนำค่าการเคลื่อนตัวที่ได้จากเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ทั้งสองประเภทมาประเมินและเปรียบเทียบความถูกต้องกับค่าการเคลื่อนตัวที่แท้จริง ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ต้นทุนต่ำให้ความถูกต้องเชิงตำแหน่งดีกว่าระดับเซนติเมตรและมีความถูกต้องด้อยกว่าเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบยีออเดติกเล็กน้อย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

พรชัยพูลทวี พ., ดำรงชัย พ., & ภิญโญ เ. . (2023). การประเมินความถูกต้องเชิงตำแหน่งของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ต้นทุนต่ำ สำหรับนำมาใช้ในการเฝ้าติดตามแผ่นดินถล่ม. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, SGI05–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2231