พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางแยกสัญญาณไฟจราจร ความสัมพันธ์ระหว่างทางแยกในเขตเมือง และเขตชานเมือง

ผู้แต่ง

  • เอกรินทร์ สุรินอุด สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ปิยณัฐ จันโทสุทธิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วีระชัย หิรัญวัฒนเกษม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่, พฤติกรรมเสี่ยงขณะขับขี่, ทางแยกสัญญาณไฟจราจร, ความปลอดภัยทางถนน

บทคัดย่อ

พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ เป็นหนึ่งในพฤติกรรมการขับขี่ด้วยความประมาท งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่ ระหว่างทางแยกสัญญาณไฟจราจรในเขตเมือง และเขตชานเมือง โดยการประยุกต์ใช้หลักการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก จากกลุ่มตัวอย่างผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่สัญจรผ่านพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 7,094 ตัวอย่าง พบว่า มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่ทั้งหมด 873 ตัวอย่าง (ร้อยละ 12.3) จำแนกประเภทการใช้งานเป็นการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยการถือขึ้นมา 710 ตัวอย่าง (ร้อยละ 10.0) และการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่ถือขึ้นมา(ใช้งานบนอุปกรณ์ช่วยจับโทรศัพท์เคลื่อนที่) 163 ตัวอย่าง (ร้อยละ 2.3) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางแยกในเขตเมือง กับเขตชานเมือง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าปัจจัย การมีผู้โดยสาร, เพศ, อายุ, การจอดติดสัญญาณไฟแดง, ช่วงเวลา, วันของสัปดาห์ และอาชีพผู้ขนส่งสินค้า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

สุรินอุด เ., จันโทสุทธิ์ ป., & หิรัญวัฒนเกษม ว. (2023). พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางแยกสัญญาณไฟจราจร ความสัมพันธ์ระหว่างทางแยกในเขตเมือง และเขตชานเมือง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL31–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2209