การกำจัดไอออนโลหะหนักจากน้ำเสียอุตสาหกรรมโดยใช้เปลือกเมล็ดทานตะวันปรับสภาพ: การดูดซับและจลนพลศาสตร์
คำสำคัญ:
การกำจัดโลหะหนัก, เปลือกเมล็ดทานตะวัน, วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร, น้ำเสียอุตสาหกรรมยานยนต์, จลนพลศาสตร์การดูดซับบทคัดย่อ
เปลือกเมล็ดทานตะวันปรับสภาพด้วย K2CO3 0.8 โมลาร์ เผาที่อุณหภูมิ 400°C (400-K2CO3MSSH) ได้ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุดูดซับเพื่อทำการดูดซับ Ni (II) Zn (II) Pb (II) และ Cd (II) จากน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำเสียอุตสาหกรรมแบบกะที่สารละลาย pH 5 ความเข้มข้นเริ่มต้นของไอออนโลหะหนักเท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าการกำจัด Ni(II) Zn(II) Pb(II) และCd(II) ออกจากสารละลายไอออนเดี่ยวมีค่าร้อยละ 96.50, 97.03, 96.98 และ 97.54 ตามลำดับ ส่วนการกำจัด Ni(II) Zn(II) Pb(II) และCd(II) แบบแข่งขันจากสารละลายไอออนผสมทั้งสี่มีค่าเป็น 87.16, 94.30, 98.02 และ 97.01 ตามลำดับ สำหรับน้ำเสียจากอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งรวบรวมจากหน่วยบำบัดกากสีพบว่าตัวดูดซับสามารถกำจัด Ni(II) และ Zn(II) ได้ร้อยละ 75.25 และ 87.50 ตามลำดับ ส่วนในน้ำเสียจากอุตสาหกรรมโรงกลึงสามารถกำจัด Zn(II) และ Pb(II) ได้ร้อยละ 78.18 และ 88.34 ตามลำดับ พบว่าไอออนทุกชนิดให้ผลแบบจำลองการดูดซับสอดคล้องกับแบบแลงเมียร์มากกว่าแบบฟรุนดลิช จลนศาสตร์ของการดูดซับของน้ำเสียสังเคราะห์เดี่ยวและน้ำเสียสังเคราะห์ผสมของไอออนทั้ง 4 ชนิดสอดคล้องกับสมการอันดับสองเทียม โดยการดูดซับไอออนเดี่ยวพบมีค่าคงที่อัตราสำหรับการดูดซับมีค่าเป็น 0.032, 0.134, 0.108,และ 0.156 กรัมต่อมิลลิกรัม-นาที และมีค่าความสามารถในการดูดซับเป็น 7.39, 10.56, 10.76 และ 10.52 มิลลิกรัมต่อกรัม สำหรับ Ni (II) Zn (II) Pb (II) และCd (II) ตามลำดับ