ประสิทธิภาพของเกราท์ด้วยซิลิเกตเจลในทรายชั้นแรกของชั้นดินกรุงเทพ

  • อรยา คำหนองไผ่ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • พรพจน์ คูหาเรืองรอง
  • สุทิน คูหาเรืองรอง
คำสำคัญ: สารละลายโซเดียมซิลิเกต, การเกราท์แบบซึมผ่าน, การเกราท์แบบแตก, การเกราท์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการทดสอบการเกราท์ในชั้นทรายด้วยสารละลายโซเดียมซิลิเกตโดยวิธีอัตราการฉีดคงที่ เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของอัตราการฉีด และความหนืดของเกราท์ ที่ส่งผลต่อเกราท์ที่เกิดขึ้น ในทรายชั้นแรกของชั้นดินกรุงเทพ การทดสอบใช้ตัวอย่างทรายอิ่มตัวด้วยน้ำที่จำลองสถาพทรายที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดินทำการเกราท์ทรายด้วยสารละลายโซเดียมซิลิเกตที่ความหนืดเท่ากับ 110 และ 130 centipoise ที่อัตราการฉีดเท่ากับ 4.56, 6.08 และ 7.60 มิลลิลิตรต่อนาที ผลการวิจัยพบว่า อัตราการฉีดส่งผลต่อรูปแบบเกราท์ที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่วนความหนืดเกราท์ไม่ได้ส่งผลต่อรูปแบบเกราท์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่าอัตราการฉีดที่ต่ำเกิดจากการเกราท์เพื่ออุดรอยเแตก (fracture grout) ส่วนอัตราการฉีดที่สูงกว่าจะเกิดแบบผสมระหว่างการเกราท์เพื่อป้องกันน้ำแทรกซึม (permeable grout) และ fracture grout ซึ่งสัมพันธ์กับแรงดันของการอัดเกราท์ลงในตัวอย่าง

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-06