กําลังรับแรงอัดและโครงสร้างทางจุลภาคของเพสต์จีโอโพลิเมอร์จากเถ้าปาล์มน้ำมันผสมอลูมิเนียมฟอยล์

  • อุกฤษฏ์ โข่ศรี สาขาวิศวกรรมโยธา
  • กรกนก บุญเสริม สาขาวิชาเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา
คำสำคัญ: เถ้าปาล์มน้ำมัน, อลูมิเนียมฟอยล์, โครงสร้างทางจุลภาค, จีโอโพลีเมอร์เพสต์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดที่อายุ 7 วัน และโครงสร้างทางจุลภาคของเพสต์จีโอโพลิเมอร์จากเถ้าปาล์มน้ำมันผสมอลูมเนียมฟอยล์ โดยการแทนที่เถ้าปาล์มน้ำมันด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ ในอัตราร้อยละ 0, 2.5 และ 5.0 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนสารละลายด่างต่อวัสดุประสาน เท่ากับ 0.9, 1.0 และ 1.1 อัตราส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เท่ากับ 1.0 ความเข้มข้นของสารละลายด่าง เท่ากับ 12.5 โมลาร์ บ่มที่อุณหภูมิ 30, 40, และ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง และบ่มต่อที่อุณหภูมิห้อง อีก 5 วันก่อนทดสอบกำลังอัด จากการศึกษาพบว่าค่ากำลังอัดเพิ่มขึ้นตามปริมาณการแทนที่ด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ เนื่องจากเป็นการเพิ่มปริมาณไอออนของอลูมิเนียมให้กับระบบ ทำให้อัตราส่วน Si/Al มีค่าเหมาะสม เกิดการเชื่อมต่อพันธะ Si-O-Al ในปริมาณมาก ซึ่งส่งผลต่อกำลังอัดที่เพิ่มมากขึ้น แต่ปริมาณของอลูมิเนียมฟอยล์ที่มากกว่าร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก ทำให้เพสต์จีโอโพลิเมอร์เกิดการก่อตัวเร็ว ไม่สามารถขึ้นรูปได้ ผลของการบ่มที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ให้ค่ากำลังอัดสูงขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิสูงจะช่วยเร่งปฏิกิริยาจีโอโพลิเมอร์ไรเซชัน ทำการศึกษาโครงสร้างทางจุลภาคของเพสต์จีโอโพลิเมอร์ โดยการศึกษาภาพถ่ายกำลังขยายสูงของเพสต์จีโอโพลิเมอร์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดและการศึกษาหมู่ฟังก์ชันของเพสต์จีโอโพลิเมอร์ ทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-06