การจัดการนั่งร้านในโครงการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้แบบจำลองเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสม

ผู้แต่ง

  • ศริณ พีระบูล ภาควิชาวิศวกรรมโย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มาโนช โลหเตปานนท์

คำสำคัญ:

นั่งร้าน, การบริหารจัดการงานก่อสร้าง, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, แบบจำลองเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสม

บทคัดย่อ

นั่งร้านเป็นอุปกรณ์เพื่อใช้ประกอบเป็นโครงสร้างชั่วคราว ซึ่งมีความสำคัญในขั้นตอนการดำเนินงานก่อสร้าง ใช้สำหรับการทำงานเพื่อรองรับน้ำหนักผู้ปฏิบัติงาน, เครื่องมือ, วัสดุก่อสร้าง และใช้เป็นเป็นโครงค้ำยันเพื่อรองรับน้ำหนักแบบหล่อคอนกรีต ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างแทบจะทุกขั้นตอน การบริหารจัดการนั่งร้านที่ไม่ดีจะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานก่อสร้างคือ สิ้นเปลืองงบประมาณและแรงงาน ในปัจจุบันการบริหารจัดการนั่งร้านในโครงการก่อสร้างมักจะใช้คนตัดสินใจ ส่งผลให้การบริหารจัดการอาจจะยังทำได้ไม่ดีพอหรือยังไม่ได้ค่าคำตอบที่ดีที่สุด และยังส่งผลให้สามารถเกิดข้อผิดพลาดจากตัวบุคคลได้ งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบจำลองเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสมเพื่อเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการเลือกขนาดนั่งร้านที่ใช้, การจัดการนั่งร้าน, การเช่านั่งร้านในโครงการก่อสร้าง และการขนส่งเข้าออกระหว่างสถานที่ก่อสร้างกับผู้ใช้เช่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ควบคุมค่าใช้จ่ายและทำงานให้ได้ตามแผนงานที่วางเอาไว้ จากการศึกษาพบว่าเมื่อนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ศึกษามาใช้ทดสอบกับข้อมูลตัวอย่างพบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึงร้อยละ 27.9 และในการทดสอบทั้ง 5 ข้อมูลตัวอย่างพบว่าสามารถหาคำตอบที่มีค่าความต่างระหว่างค่าที่ดีที่สุดและคำตอบปัจจุบันไม่เกินร้อยละ 10 ภายในเวลา 30 นาที

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

พีระบูล ศ., & โลหเตปานนท์ ม. (2023). การจัดการนั่งร้านในโครงการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้แบบจำลองเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสม. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, CEM25–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2162