ความสามารถทำงานได้ และความสามารถดูดซึมน้ำของนาโนซิลิกากับแร่ใยธรรมชาติ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของคอนกรีตมวลรวมรีไซเคิล

  • กาณฑ์ ทะนนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย
  • ศตวรรษ หฤหรรษพงศ์
  • ณรงค์เดช อินทรัตน์ชัยกิจ
  • วชิรภรณ์ เสนาวัง
คำสำคัญ: นาโนซิลิกา, ใยปาล์มน้ำมัน, ใยป่านศรนารายณ์, มวลรวมรีไซเคิล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอเศษวัสดุที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมการก่อสร้างมาทำการรีไซเคิล เพื่อนำมาทดแทนมวลรวมหยาบตามธรรมชาติ โดยแทนที่ในอัตราส่วนร้อยละ 0 และ 100 ต่อน้ำหนักของมวลรวมหยาบ ใช้นาโนซิลิกาที่มีขนาดระดับอนุภาคเฉลี่ยประมาณ 12 นาโนเมตร แทนที่ปูนซีเมนต์ในอัตราส่วนร้อยละ 3 ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ แร่เส้นใยธรรมชาติที่ใช้สำหรับงานวิจัยนี้ เส้นใยป่านศรนารายณ์ และเส้นใยปาล์มน้ำมันที่ใช้มีความยาวของเส้นใย 20 มิลลิเมตร ใส่เพิ่มในตัวอย่างแต่ละชนิดร้อยละ 3 ต่อน้ำหนักของมวลรวมหยาบ ทดสอบความสามารถทำงานได้ในด้าน การยุบตัว และการไหลตัวของคอนกรีต ส่วนการทดสอบความคงทนในด้านอัตราการซึมผ่านน้ำของคอนกรีต จากผลการทดสอบพบว่า การใช้วัสดุนาโนซิลิกา หรือการใช้วัสดุมวลรวมรีไซเคิลจะลดความสามารถทำงานได้ของคอนกรีตลงอย่างมาก มีค่าการยุบตัวของคอนกรีตอยู่ที่ 5.9-7.3 เซนติเมตร ค่าการไหลของคอนกรีตสดอยู่ที่ 35-44 เซนติเมตร ซึ่งต้องมีการใช้สารลดน้ำพิเศษตามปริมาณสัดส่วนที่ใช้เพื่อเพิ่มความสามาถทำงานได้ของคอนกรีต ส่วนผลการทดสอบความคงทนของคอนกรีต ในส่วนการดูดซึมน้ำพบว่า คอนกรีตที่ผสมนาโนซิลิกา มีค่าความสามารถดูดซึมน้ำที่สูงสุด ทั้งการใช้มวลรวมหยาบตามธรรมชาติ และมวลรวมรีไซเคิล มีค่าร้อยละ 10.06 และ 8.87 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับคอนกรีตปกติ และคอนกรีตที่ใส่วัสดุเส้นใยธรรมชาติ ซึ่งสรุปได้ว่าวัสดุนาโนซิลิกาสามารถที่ปรับปรุงคุณสมบัติของคอนกรีตทั้งมวลรวมหยาบตามธรรมชาติ และมวลรวมรีไซเคิล

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-05

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้