การเปรียบเทียบค่าการสูญเสียแรงดึงในเหล็กเสริมอัดแรงที่ได้จากการวิเคราะห์ ตามมาตรฐาน ACI 423.10R และมาตรฐาน AASHTO

ผู้แต่ง

  • ประทีป กล่ำฉ่ำ เกษตรศาสตร์
  • ทรงพล จารุวิศิษฏ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การสูญเสียแรงดึงในเหล็กเสริมอัดแรง, มาตรฐาน ACI423.10R, มาตรฐาน AASHTO, การกัดกร่อน, สะพาน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์ค่าการสูญเสียแรงดึงในเหล็กเสริมอัดแรงของชิ้นส่วนคอนกรีตอัดแรงตามมาตรฐาน ACI 423.10R ซึ่งมาตรฐาน ACI-318 ที่ใช้สำหรับการออกแบบอาคาร ค.ส.ล. ได้กล่าวอ้างอิงถึง เนื่องจากมาตรฐาน ACI-318 ไม่ได้ระบุถึงการวิเคราะห์ค่าการสูญเสียแรงดึงในเหล็กเสริมอัดแรงไว้ในรายละเอียด และเปรียบเทียบผลของค่าการสูญเสียแรงดึงกับการวิเคราะห์ตามมาตรฐาน AASHTO-LRFD (2012) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เหมาะสำหรับงานสะพานแต่อาจไม่เหมาะสำหรับงานอาคาร โดยการศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์ชิ้นส่วนโครงสร้างกรณีตัวอย่างจำนวน 8 รูปแบบ ประกอบด้วยโครงสร้างระบบอัดแรงก่อน 4 กรณีและระบบอัดแรงภายหลัง 4 กรณี เพื่อเปรียบเทียบผลค่าการสูญเสียแรงดึงในเหล็กเสริมอัดแรงแต่ละรูปแบบ อีกทั้งยังได้พิจารณาลดทอนปริมาณเหล็กเสริมอัดแรงจากการสมมติว่าเกิดการกัดกร่อนในเหล็กเสริมอัดแรงตั้งแต่ 0-50% และวิเคราะห์หาค่ากำลังรับโมเมนต์ดัดที่ลดลงสำหรับตัวอย่างสุดท้ายของสะพานจริงในประเทศไทยซึ่งใช้คานกล่องต่อเนื่องชนิดอัดแรงภายหลัง เปรียบเทียบกันระหว่างมาตรฐานทั้งสอง ผลการศึกษาพบว่าการวิเคราะห์มาตรฐาน ACI ให้ค่าการสูญเสียแรงดึงในเหล็กเสริมอัดแรงจากเฉลี่ยสูงกว่าการวิเคราะห์ตามมาตรฐาน AASHTO ประมาณ 3.84 % และการกัดกร่อนของเหล็กเสริมอัดแรงทำให้เหล็กเสริมอัดแรงที่เหลืออยู่ต้องรับแรงดึงเพิ่มมากขึ้นทำให้ต้องการกำลังต้านทานโมเมนต์ดัดในหน้าตัดเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยกับเหล็กเสริมที่ถูกกัดกร่อนหายไปตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21

วิธีการอ้างอิง

กล่ำฉ่ำ ป., & จารุวิศิษฏ์ ท. . (2023). การเปรียบเทียบค่าการสูญเสียแรงดึงในเหล็กเสริมอัดแรงที่ได้จากการวิเคราะห์ ตามมาตรฐาน ACI 423.10R และมาตรฐาน AASHTO. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, STR17–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2120