ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและความเข้มข้นคลอโรฟิลล์-เอ บริเวณทะเลชายฝั่ง อ่าวไทยตอนบน

ผู้แต่ง

  • ภูภัส ทองจับ ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธงทิศ ฉายากุล ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อุณหภูมิผิวน้ำทะเล, ความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์, ลมมรสุม, ดาวเทียม Aqua

บทคัดย่อ

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวน้ำทะเล (SST) และความเข้มข้นคลอโรฟิลล์-เอ (Chl-a) มีส่วนช่วยในการสนับสนุนการติดตามและประเมินสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งคลอโรฟิลล์-เอ เป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอนพืชและมวลชีวภาพในแหล่งน้ำชายฝั่ง ในขณะที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช จึงเลือกใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแบบรายเดือนซึ่งเป็นข้อมูลผลิตภัณฑ์ระดับ 3 โดยผ่านการปรับแก้ทางเรขาคณิตและระบบการฉายให้ความละเอียดเชิงพื้นที่ 4.6 กิโลเมตร จากดาวเทียม Aqua ระบบ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) ในช่วงเวลาปี พ.ศ.2558–2565 นำมาประมวลผลสร้างเป็นข้อมูลค่าเฉลี่ยภูมิอากาศของแต่ละเดือนรายเดือนจากช่วงระยะเวลา 8 ปี ในการใช้หาความสัมพันธ์ อีกทั้งเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงเชิงเวลาและเชิงพื้นที่บริเวณทะเลชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน จากผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเดือนและช่วงลมมรสุมพบว่าตั้งแต่เดือนมกราคมอุณหภูมิผิวน้ำทะเลมีอุณหภูมิค่อยๆเพิ่มขึ้นและค่าเฉลี่ยอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่เดือนพฤษภาคมจากนั้นอุณหภูมิจะเริ่มลดลง ในขณะที่ความเข้มข้นคลอโรฟิลล์มีค่ามากที่สุดอยู่ที่เดือนกันยายน โดยค่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละปีของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและความเข้มข้นคลอโรฟิลล์ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงบวกในช่วงลมมรสมตะวันออกเฉียงเหนือ และความสัมพันธ์เชิงลบในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามอิทธิพลของลมมรสุม นอกจากนี้ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำผุด (Upwelling) ซึ่งเป็นการพัดพามวลน้ำเย็นและสารอาหารจากน้ำลึกขึ้นมาสู่ผิวน้ำทะเล ก่อให้เกิดอิทธิพลต่อการเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์และอุณหภูมิผิวน้ำทะเลลดลง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

ทองจับ ภ., & ฉายากุล ธ. (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและความเข้มข้นคลอโรฟิลล์-เอ บริเวณทะเลชายฝั่ง อ่าวไทยตอนบน. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, SGI03–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2072