การตรวจสอบรอยร้าวหรือการตรวจสอบความเสียหายอาคารชลประทานด้วยเทคโนโลยีสามมิติจากภาพถ่ายและการเรียนรู้เชิงลึกโดยโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชั่นแบบสมบูรณ์

ผู้แต่ง

  • สโรชา ช่วงชู ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษฎา ไชยสาร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศวิษฐ์ ธรรมวิชิต
  • อภิชาติ บัวติก

คำสำคัญ:

การตรวจสอบรอยร้าว, อากาศยานไร้คนขับ, โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชั่นแบบสมบูรณ์, การสร้างแบบจำลองสามมิติด้วยภาพถ่าย, อาคารชลประทาน

บทคัดย่อ

ปัจจุบันกรมชลประทานใช้วิธีการตรวจสภาพอาคารชลประทานด้วยสายตา (Visual Inspection) หรือวิธีการตรวจสอบแบบพินิจ โดยการเดินตรวจสภาพในทุกองค์ประกอบของอาคารเพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจสภาพอาคารชลประทานด้วยสายตา มาทำการประเมินสภาพอาคารชลประทานโดยวิธีดัชนีสภาพ (Dam assessment by Condition Index Method) ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ทั่วถึง เช่น บริเวณที่ผู้ตรวจสอบเข้าถึงได้ยากหรือไม่สามารถเข้าถึงได้ และอาจเป็นอันตรายต่อผู้ทำการสำรวจ อีกทั้งอาจเกิดข้อผิดพลาดจากผู้ตรวจสอบเอง เพื่อการรักษาความปลอดภัยของอาคารชลประทาน งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการตรวจสอบโดยเทคโนโลยีภาพถ่ายผ่านทางกล้องถ่ายรูปที่มีความละเอียดสูง การใช้อากาศยานไร้คนขับในการเก็บรวบรวมข้อมูล ร่วมกับเทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองสามมิติด้วยภาพถ่ายด้วยเทคนิค photogrammetry ร่วมกับการพัฒนากระบวนการตรวจหารอยแตก รอยร้าวด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชั่นแบบสมบูรณ์ Fully Convolutional Network (FCN) เพื่อตรวจหารอยร้าวบนอาคารชลประทาน ผลปรากฏว่าวิธีที่นำเสนอสามารถตรวจจับรอยร้าวในระดับพิกเซลได้อย่างแม่นยำกว่า 90%

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ประวัติผู้แต่ง

รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษฎา ไชยสาร, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การศึกษา :
- BA (Civil Engineering), University of Cambridge
- MA (Civil Engineering), University of Cambridge
- MEng (Civil Engineering), University of Cambridge
- PhD (Civil and Information Engineering), University of Cambridge
- CV : Krisada_Chaiyasarn

เรื่องเชี่ยวชาญ
- Building Information Model(BIM)
- Image processing, Computer Vision
- Structural Health Monitoring
- Information Management in Civil Engineering

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-27

วิธีการอ้างอิง

ช่วงชู ส., ไชยสาร ก., ธรรมวิชิต ศ. ., & บัวติก อ. (2023). การตรวจสอบรอยร้าวหรือการตรวจสอบความเสียหายอาคารชลประทานด้วยเทคโนโลยีสามมิติจากภาพถ่ายและการเรียนรู้เชิงลึกโดยโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชั่นแบบสมบูรณ์. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, STR26–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2071