ผลกระทบของการแปรเปลี่ยนเชิงพื้นที่ต่อการทรุดตัวของดินจากการอัดตัวคายน้ำในพื้นที่ถมขนาดใหญ่

ผู้แต่ง

  • สนั่น พิรุณจินดา ศูนย์วิจัยด้านนวัตกรรมการก่อสร้างและระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับอนาคต ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จ.กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
  • ชนา พุทธนานนท์ ศูนย์วิจัยด้านนวัตกรรมการก่อสร้างและระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับอนาคต ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จ.กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
  • พรเกษม จงประดิษฐ์ ศูนย์วิจัยด้านนวัตกรรมการก่อสร้างและระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับอนาคต ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จ.กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
  • Hyung Mok Kim

คำสำคัญ:

การถมที่ดินชายฝั่ง, การทรุดตัวแบบอัดตัวคายน้ำ, ความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของดิน, วิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสุ่ม

บทคัดย่อ

การถมที่ดินชายฝั่ง เป็นวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาพื้นที่ทางราบไม่เพียงพอในประเทศต่าง ๆ และมักจะถมเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากการทรุดตัวจากการอัดตัวคายน้ำหลังการถมที่ดินเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องประเมินการทรุดตัวอย่างถูกต้อในขั้นตอนการออกแบบการถมที่ดิน ในทางปฏิบัติ ดินมักจะถูกพิจารณาให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยไม่คำนึงถึงความไม่แน่นอนในสมบัติของดิน งานวิจัยก่อนหน้ามีการประยุกต์ใช้วิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสุ่มในการศึกษาพฤติกรรมการอัดตัวคายน้ำของดิน อย่างไรก็ตาม มีเพียงงานวิจัยส่วนน้อยเท่านั้นที่ศึกษาเกี่ยวกับการทรุดตัวจากการอัดตัวคายน้ำในพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสุ่ม งานวิจัยนี้ศึกษาการทรุดตัวจากการอัดตัวคายน้ำในบริเวณดินถามขนาดใหญ่ด้วยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสุ่ม โดยแบบจำลองถูกสร้างขึ้นด้วยโปรแกรม PLAXIS 2D ตัวแปรเชิงสถิติสำหรับการวิเคราะห์จะถูกคำนวณจากข้อมูลที่มีอยู่อย่างจำกัด ผลจากการวิเคราะห์เมื่อเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เชิงกำหนดแสดงให้เห็นว่า ผลจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสุ่มมีความสอดคล้องกับค่าการทรุดตัวสุดท้ายมากกว่าผลจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เชิงกำหนด การวิเคราะห์โดยคำนึงถึงความไม่แน่นอนในสมบัติของดินจึงเหมาะสมกว่าที่จะพิจารณาความเสี่ยงจากปัญหาการทรุดตัวที่อาจเกิดขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

พิรุณจินดา ส., พุทธนานนท์ ช., จงประดิษฐ์ พ., & Mok Kim, H. (2023). ผลกระทบของการแปรเปลี่ยนเชิงพื้นที่ต่อการทรุดตัวของดินจากการอัดตัวคายน้ำในพื้นที่ถมขนาดใหญ่. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, GTE40–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2065