อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับฐานรากชิดเขตต่อผลตอบสนองของโครงสร้างภายใต้แรงแผ่นดินไหว

  • วิศรุต จันทร์สุวรรณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สุชาติ ลิ่มกตัญญู ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วรเทพ แซ่ล่อง
คำสำคัญ: ฐานรากชิดเขต, คานสายรัด, แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว, การประเมินโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหว, การปฏิสัมพันธ์ระหว่างดินกับฐานราก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษากรณีของโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้นที่ตั้งอยู่บนฐานรากชิดเขตที่มีการโยกตัว 2 กรณี ได้แก่ อาคารที่ไม่ได้ออกแบบต้านทานแรงแผ่นดินไหวและอาคารที่ออกแบบต้านทานแรงแผ่นดินไหว ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวของมาตรฐานกรมโยธิการและผังเมือง มยผ.1302-52 อีกทั้งศึกษาอิทธิพลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างฐานรากกับดิน โดยพิจารณาขนาดของฐานรากชิดเขตที่ตั้งอยู่บนชั้นดิน 3 ชนิด ได้แก่ ดินทราย ดินเหนียวอ่อน และดินเหนียวแข็ง โดยเปรียบเทียบกับฐานรากแบบยึดแน่น และประเมินความเสียหายของโครงสร้างตามมาตรฐาน Federal Emergency Management Agency, (FEMA356) โดยพิจารณาค่ามุมบิดพลาสติกที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนโครงสร้างเมื่อรับแรงแผ่นดินไหว จากการศึกษาพบว่า โครงสร้างที่ตั้งอยู่บนฐานรากชิดเขตที่มีการโยกตัวบนชั้นดินเหนียวอ่อน สามารถลดแรงเฉือนที่ฐานและความเสียหายของโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากแรงแผ่นดินไหวได้ดีกว่าฐานรากแบบยึดแน่น

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

ประวัติผู้แต่ง

สุชาติ ลิ่มกตัญญู, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ลิ่มกตัญญู

อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เผยแพร่แล้ว
2023-07-07