คาร์บอนฟุตพรินต์องค์กร: กรณีศึกษา โรงหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูป บริษัท กาญจน์กนก พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

  • รัชชานนท์ สุขสวัสดิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นที สุริยานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คำสำคัญ: คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร, ก๊าซเรือนกระจก, โรงงานผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูป

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและวิเคราะห์ค่าคาร์บอนฟุตพรินต์องค์กรของโรงหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูปของบริษัท กาญจน์กนก พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ตามแนวทางขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยจำแนกเป็น 3 ขอบเขต ได้แก่ ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานไฟฟ้า และขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (จำนวน 5 กลุ่มกิจกรรม) ระยะเวลาติดตามผลคือ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ผลการศึกษาแสดงว่าคาร์บอนฟุตพรินต์องค์กรของบริษัท กาญจน์กนก พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เท่ากับ 1,195.70 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) โดยขอบเขตที่ 3 มีปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์มากที่สุดเท่ากับ 1,153.73 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 96.49 รองลงมาคือขอบเขตที่ 1 มีปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์เท่ากับ 31.17 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 2.61 และขอบเขตที่ 2 มีปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์เท่ากับ 10.79 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 0.90 ผลการเปรียบเทียบค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ต่อปริมาณงานหลัก พบว่า คาร์บอน ฟุตพรินต์ต่องานหล่อคอนกรีตและงานติดตั้งเหล็กเสริม เท่ากับ 0.516 tCO2e ต่อลูกบาศก์เมตร และ 6.002 tCO2e ต่อตัน ตามลำดับ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

ประวัติผู้แต่ง

นที สุริยานนท์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดร. นที สุริยานนท์

อาจารย์ประจำภาควิชา วิศวกรรมโยธา

คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การศึกษา

  • ปริญญาเอก - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - Doctor of Philosophy (Civil Engineering) (2547-2552)
  • ปริญญาโท - The University of Michigan, Ann Arbor - Master of Engineering (Construction Engineering and Management) (2540-2541)
  • ปริญญาตรี - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) เกียรตินิยมอันดับสอง (2535-2539)
เผยแพร่แล้ว
2023-07-08