การเสริมกําลังต้านทานแผ่นดินไหวโครงเฟรมคอนกรีตเสริมเหล็กภายนอกที่มีเสาอ่อนแอ ด้วยค้ำยันที่จุดต่อ

ผู้แต่ง

  • เมธาวิกร สืบก่ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชยานนท์ หรรษภิญโญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปิยะพงษ์ วงค์เมธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กิตติศักดิ์ ขอนเอิบ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แรงสลับทิศ, ค้ำยันจุดต่อ, จุดต่อคาน-เสาภายนอก

บทคัดย่อ

มีอาคารที่อ่อนแอต่อแผ่นดินไหวจำนวนมากในพื้นที่ภาคเหนือที่ออกแบบและก่อสร้างก่อนกฎหมายควบคุมการออกแบบต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวโดยลักษณะของโครงสร้างนั้นต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งบทความนี้ได้นำเสนอผลการทดสอบการให้แรงสลับทิศของตัวอย่างโครงเฟรมคาน-เสาคอนกรีตเสริมเหล็กภายนอก จำนวน 3 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 1 เป็นตัวอย่างโครงเฟรมที่มีลักษณะเสาอ่อน-คานแข็ง ตัวอย่างที่ 2 และ 3 มีรายละเอียดเหมือนกับตัวอย่างที่ 1 แต่มีการเสริมกำลังจุดต่อด้วยค้ำยันเหล็กกล่องกลวงและค้ำยันเหล็กกล่องกรอกมอร์ต้ากำลังอัดสูงไม่หดตัว ผลการทดสอบพบว่าตัวอย่างที่ไม่เสริมกำลังเกิดรอยร้าวแนวทแยงที่จุดต่อคาน-เสาอย่างรุนแรง ทำให้กำลังรับแรงด้านข้างลดลงอย่างรวดเร็ว มีค่ากำลังสูงสุด 15.02 กิโลนิวตัน ส่วนตัวอย่างที่มีการเสริมกำลังด้วยการค้ำยันที่จุดต่อคาน-เสานั้นสามารถเพิ่มกำลังในการรับแรงสลับทิศ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่ไม่ได้เสริมกำลังสามารถรับได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยทั้งสองทิศทาง 64.86% และ 157.27% ตามลำดับ ในบริเวณพื้นที่จุดต่อคาน-เสาพบรอยแตกร้าวแนวทแยงในทุกตัวอย่าง ซึ่งในสภาวะประลัยตัวอย่างที่มีการเสริมกำลังเหล็กกล่องเกิดการโก่งเดาะที่บริเวณใกล้เคียงกับรอยเชื่อมระหว่างเหล็กกล่องกับแผ่นเหล็ก

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

วิธีการอ้างอิง

สืบก่ำ เ., หรรษภิญโญ ช., วงค์เมธา ป., & ขอนเอิบ ก. (2023). การเสริมกําลังต้านทานแผ่นดินไหวโครงเฟรมคอนกรีตเสริมเหล็กภายนอกที่มีเสาอ่อนแอ ด้วยค้ำยันที่จุดต่อ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, STR42–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2021