การศึกษาวิเคราะห์และออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คานสะพานคอนกรีตอัดแรงชนิด I-Girder

ผู้แต่ง

  • สิวนารถ อยู่นาน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา-ชลประทาน วิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปรินทร ส่องแสงศิริศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา-ชลประทาน วิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศิรภพ เฉลิมเกียรติ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา-ชลประทาน วิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วัชรา ณ ระนอง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

คานคอนกรีตอัดแรง, น้ำหนักบรรทุกตามมาตรฐาน AASHTO HL-93, I-Girder

บทคัดย่อ

ในการออกแบบโครงสร้างสะพานในปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีคอนกรีตอัดแรงมาใช้ในการออกแบบกันอย่างแพร่หลาย จากการศึกษาข้อมูลคานคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการก่อสร้างสะพานที่ทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักและรับแรงดัด ได้ดีกว่าคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วๆไป และรวดเร็วในการก่อสร้าง สำหรับการก่อสร้างสะพานที่มีช่วงของสะพานที่ยาวมากๆ การก่อสร้างจะพิจารณาใช้คานคอนกรีตอัดแรงในลักษณะหน้าตัดรูปตัวไอ ( Prestress Concrete I Girder ) งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและออกแบบคานคอนกรีตอัดแรงชนิด I-Girder ขนาดหน้าตัดตามมาตรฐานกรมทางหลวง ความยาว 15 เมตร โดยมีการปรับเปลี่ยนขนาดหน้าตัด ลดจำนวนเหล็กเสริมลง โดยที่โครงสร้างยังสามารถรับน้ำหนักใช้งานและน้ำหนักประลัยได้อย่างปลอดภัย จากผลการศึกษาและออกแบบดังกล่าวพบว่าเมื่อพิจารณาการรับน้ำหนักบรรทุกตามมาตรฐาน AASHTO HL-93 แล้วนั้น หน้าตัดคานยังสามารถปรับลดขนาดหน้าตัดและลดลวดอัดแรงลงได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21

วิธีการอ้างอิง

อยู่นาน ส., ส่องแสงศิริศักดิ์ ป., เฉลิมเกียรติ ศ., & ณ ระนอง ว. (2023). การศึกษาวิเคราะห์และออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คานสะพานคอนกรีตอัดแรงชนิด I-Girder. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, STR18–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2008