ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการให้บริการขนส่งมวลชน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

ผู้แต่ง

  • สมชาย โอตป์ฉิมพลี กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จ.สงขลา

คำสำคัญ:

ก๊าซเรือนกระจก, รถขนส่งมวลชน, รถไฟฟ้า, คาร์บอนไดออกไซด์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและหาแนวทางในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการให้ บริการรถขนส่งมวลชน ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยรถขนส่งมวลชนมีทั้งหมด 15 คัน ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 11 คัน รถนํ้ามันดีเซล 4 คัน การเดินรถให้บริการ 3 เส้นทางคือ สายที่ 1 สีน้ำเงิน สายที่ 2 สีแดง และสายที่ 3 สีเขียว ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งหมดของรถขนส่งมวลชนเท่ากับ 54,929 kgCO2eq/ปี โดยสายที่ 1 สีน้ำเงินปล่อยก๊าซเรือนกระจก 21,566 kgCO2eq /ปี สายที่ 2 สีแดงปล่อยก๊าซเรือนกระจก 19,208 kgCO2eq /ปี สายที่ 3 สีเขียวปล่อยก๊าซเรือนกระจก 14,155 kgCO2eq /ปี รถไฟฟ้า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ย 2,251 kgCO2eq /คัน/ปี ในขณะที่รถน้ำมันดีเซลมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ย 7,543 keCO2eq /คัน/ปี เมื่อเปรียบเทียบระหว่างรถไฟฟ้ากับรถน้ำมันดีเซลพบว่า รถน้ำมันดีเซลมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ารถไฟฟ้าถึง 5,292 kgCO2eq /คัน/ปี ซึ่งรถน้ำมันดีเซลมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ารถไฟฟ้าคิดเป็น 3.35 เท่าของรถไฟฟ้าปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีการใช้รถขนส่งมวลชนสองประเภท ซึ่งในอนาคตหากมหาวิทยาลัยเปลี่ยนรถน้ำมันดีเซลจำนวน 4 คันมาเป็นรถไฟฟ้า จะทำให้รถขนส่งมวลชนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เท่ากับ 21,168 keCO2eq /ปี (คิดเป็นร้อยละ 30)

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

โอตป์ฉิมพลี ส. (2023). ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการให้บริการขนส่งมวลชน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, ENV01–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1978