ผลของสารเชื่อมประสานคอนกรีตกับวัสดุซ่อมแซมคอนกรีตต่อระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าว อันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม
คำสำคัญ:
สารเชื่อมประสานคอมกรีต, วัสดุซ่อมแซมคอนกรีต, การกัดกร่อนของเหล็กเสริมบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งเน้นการตรวจสอบพฤติกรรมของการเกิดรอยร้าวอันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารเชื่อมประสานระหว่างคอนกรีตกับวัสดุซ่อมแซมที่ส่งผลต่อระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าวอันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม โดยการจำลองการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและทดสอบเร่งปฏิกิริยาการกัดกร่อนในครั้งนี้ ใช้วัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อม (Repair Mortar) และสารเชื่อมประสาน (Bonding Agent) ชนิด Latex และ Epoxy ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมของการเกิดรอยร้าวอันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริมของตัวอย่างที่ทำการทดสอบให้ผลที่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารเชื่อมประสานกับวัสดุซ่อมแซม พบว่า ตัวอย่างที่หล่อด้วยวัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อมกับสารเชื่อมประสานคอนกรีต ชนิด Epoxy มีระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าวช้าที่สุด รองลงมาเป็นตัวอย่างที่หล่อด้วยวัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อมทั้งก้อน และตัวอย่างที่หล่อด้วยวัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อมกับสารเชื่อมประสานคอนกรีต ชนิด Latex ตามลำดับ ส่วนตัวอย่างที่หล่อด้วยวัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อมกับไม่มีสารเชื่อมประสานคอนกรีตจะมีระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าวเร็วที่สุด
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์