การประเมินคุณภาพของการล้างหินโรยทางด้วยเครื่องจักร
คำสำคัญ:
ทางรถไฟ, หินโรยทาง, การล้างหิน, การซ่อมบำรุงทางรถไฟ, รถล้างหินบทคัดย่อ
โครงสร้างทางรถไฟแบบใช้หินโรยทางเป็นโครงสร้างที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายและมีสัดส่วนที่มากที่สุดของระบบขนส่งทางรางในประเทศไทย ดังนั้นรูปแบบการซ่อมบำรุงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดูแลรักษาทางรถไฟให้มีความสมบูรณ์ มั่นคงแข็งแรงเพียงพอต่อการสัญจร ซึ่งในการบำรุงรักษาทาง รถไฟแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างส่วนบน (Superstructure) ประกอบไปด้วย ราง หมอนรองราง และเครื่องยึดเหนี่ยวราง ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนัก จากรถไฟและลดหน่วยแรงลงสู่โครงสร้างส่วนล่าง (Substructure) ประกอบไปด้วย หินโรยทาง ดินคันทาง ทำหน้าที่กระจายแรงของรถไฟลงสู่ฐานราก โดยที่ความสกปรกของหินโรยทาง (Ballast fouling) มีอิทธิพลโดยตรงต่อความสามารถการรับน้ำหนักของโครงสร้างทางรถไฟ ซึ่งสามารถประเมินได้จาก การเพิ่มขึ้นของส่วนละเอียด รวมไปถึงการสูญเสียขนาดคละของเม็ดหิน (Degradation) จากน้ำหนักจร ทำให้วิธีการล้างหินหรือการแยกสิ่งเจือปนออกจาก ชั้นหินโรยทางนั้นส่งผลให้โครงสร้างทางรถไฟมีกำลังรับน้ำหนักที่ดีขึ้น ดังนั้นบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการตรวจสอบและประเมินคุณภาพ ของหินโรยทางด้วยเครื่องจักรที่ใช้ในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย การตรวจสอบด้วยการใช้เครื่องมือเรดาร์หยั่งลึก (Ground Penetrating Radar, GPR) และการประเมินขนาดคละของหินโรยทาง ผ่านกรณีศึกษาของการซ่อมบำรุงทางรถไฟสายเหนือจากการใช้งานรถล้างหินของการรถไฟแห่งประเทศ ไทยปัจจุบัน พร้อมข้อเสนอแนะที่นำไปประยุกต์ใช้กับการซ่อมบำรุงทางรถไฟต่อไปในอนาคต
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์