การปรับปรุงคุณภาพเศษคอนกรีตด้วยไฮดรอลิกซีเมนต์สำหรับวัสดุงานทาง
คำสำคัญ:
ไฮดรอลิกซีเมนต์, ชั้นรองพื้นทาง, เศษคอนกรีตบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านกำลังอัดแบบไม่ถูกจำกัดของเศษคอนกรีตที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยซีเมนต์ไฮดรอลิก เพื่อใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้างทาง ใช้เศษคอนกรีตบดละเอียดที่มีขนาดคละตามมาตรฐานของกรมทางหลวง กำหนดปริมาณไฮดรอลิกซีเมนต์ 1%, 2%, 3%, 4% และ 5% โดยน้ำหนัก ทำการทดสอบตัวอย่างแบบสูงกว่ามาตรฐานเพื่อหาปริมาณความชื้นที่เหมาะสม นำตัวอย่างไปบ่มที่อุณหภูมิห้อง 7 และ 14 วัน หลังจากนั้นนำไปแช่น้ำ 2 ชั่วโมงและนำมาทดสอบกำลังอัดแบบไม่ถูกจำกัด (Unconfined compressive strength, UCS) ตามมาตรฐานการออกแบบชั้นทางของกรมทางหลวง ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณความชื้นที่เหมาะสมในการบดอัดที่ร้อยละ 12 กำลังอัดของเศษคอนกรีตมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณไฮดรอลิกที่ซีเมนต์และอายุการบ่มที่มากขึ้น โดยมีกำลังอัดสูงสุดที่ปริมาณซีเมนต์ไฮดรอลิก 5% อายุการบ่ม 14 วัน มีค่าเท่ากับ 49.0 ksc และปริมาณไฮดรอลิกซีเมนต์ที่เหมาะสมในการออกแบบและใช้เป็นชั้นรองพื้นทางตามมาตรฐาน ทล.-ม 204/2556 อยู่ที่ ร้อยละ 2.5 ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า เศษคอนกรีตเหลือทิ้งที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยไฮดรอลิกซีเมนต์ผ่านเกณฑ์วัสดุชั้นรองพื้นทางของกรมทางหลวง ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำเศษคอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยไฮดรอลิกซีเมนต์นำกลับมาใช้ในการก่อสร้างชั้นรองพื้นทาง
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์