การประเมินฝนเรดาร์ด้วยเทคนิคเรดาร์คอมโพสิตระหว่างสถานีเรดาร์สัตหีบและเรดาร์ระยอง

ผู้แต่ง

  • ภูรี อรุณศรี ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พรรณพิมพ์ พุทธรักษา มะเปี่ยม สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ฝนเรดาร์, เทคนิคเรดาร์คอมโพสิต, เรดาร์สัตหีบ, เรดาร์ระยอง

บทคัดย่อ

การใช้ข้อมูลจากเรดาร์เพียงสถานีเดียวอาจนำไปสู่ความผิดพลาดในการประเมินฝนได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาประสิทธิภาพในการประเมินฝนด้วยเทคนิคเรดาร์คอมโพสิตระหว่างสถานีเรดาร์สัตหีบและเรดาร์ระยอง เทคนิคเรดาร์คอมโพสิต 4 วิธีได้แก่ วิธีค่าเฉลี่ย วิธีระยะห่างตามระยะทาง วิธีค่าสูงสุด และวิธีถ่วงน้ำหนักตามระยะทางถูกนำมาใช้ในการศึกษา ข้อมูลการสะท้อนกลับจาก 2 สถานีเรดาร์และข้อมูลน้ำฝนจากสถานีอัตโนมัติจำนวน 127 สถานี สำหรับ 26 เหตุการณ์น้ำฝนในปี พ.ศ. 2563 ได้ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ เมื่อพิจารณาข้อมูลน้ำฝนตลอดช่วง 26 เหตุการณ์ ผลการศึกษาพบว่าการใช้เทคนิคเรดาร์คอมโพสิตทุกวิธีให้ผลการจำลองฝนได้มีความถูกต้องสูงกว่าการวิเคราะห์จากเรดาร์สถานีเดียว โดยวิธีค่าเฉลี่ยให้ผลดีที่สุดใกล้เคียงกับวิธีถ่วงน้ำหนักตามระยะทางและวิธีระยะห่างตามระยะทาง ในขณะที่วิธีค่าสูงสุดให้ความถูกต้องน้อยที่สุด ความถูกต้องที่เพิ่มขึ้นเมื่อใช้วิธีค่าเฉลี่ยมีค่าสูงสุดประมาณ 11.4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการใช้ข้อมูลจากสถานีเรดาร์ระยอง แต่เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพของเทคนิคคอมโพสิตตามความเข้มฝน พบว่าวิธีค่าสูงสุดให้ความถูกต้องในการประเมินฝนที่เพิ่มขึ้นตามความเข้มฝนอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับสามวิธีที่เหลือ และสามารถเพิ่มความถูกต้องในการประเมินฝนปานกลางได้มากกว่าการใช้ข้อมูลเรดาร์ระยองอย่างมีนัยสำคัญถึง 28.42 เปอร์เซ็นต์

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19