การหาความแปรปรวนน้ำใต้ดินและพารามิเตอร์ทางอุทกวิทยาด้วยการวิเคราะห์ค่าแนวโน้มและความสัมพันธ์สำหรับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง
คำสำคัญ:
น้ำใต้ดิน, พารามิเตอร์ทางอุทกวิทยา, แนวโน้มและความสัมพันธ์, ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างบทคัดย่อ
น้ำใต้ดินเป็นแหล่งน้ำดิบที่สำคัญหนึ่งในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ดังนั้นความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างความแปรปรวนของน้ำใต้ดินและพารามิเตอร์ทางอุทกวิทยาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน การศึกษานี้จึงได้ใช้ข้อมูลการสำรวจพื้นผิวโลกและแพลตฟอร์มของกูเกิลเอิร์ธเอนจินเพื่อหาค่าแนวโน้มและความสัมพันธ์ระหว่างความแปรปรวนน้ำใต้ดินและพารามิเตอร์ทางอุทกวิทยาในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ถึง พ.ศ.2560 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามีค่าแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นของปริมาณน้ำฝน การคายระเหย และการไหลบ่าในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างในประเทศลาว ประเทศไทย และเวียดนาม แต่ทว่าในประเทศกัมพูชามีค่าแนวโน้มที่ลดลงอย่างชัดเจน จากค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาของชั้นน้ำใต้ดินและค่าการเปลี่ยนแปลงของการเติมน้ำเพื่อเก็บกักน้ำในชั้นดินนั้น ชี้ให้เห็นว่าระยะเวลาของการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ศึกษาใช้เวลาประมาณ 1 เดือน อันเนื่องมาจากเมื่อพิจารณาระหว่างค่าทั้งสองในช่วงระยะเวลาห่างกันมากกว่า 1 เดือน จะไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ (p-value > 0.05) โดยค่าปริมาณน้ำฝนมีค่าความสัมพันธ์ต่อค่าความหนาของชั้นน้ำใต้ดินมากกว่าค่าการคายระเหย และค่าการไหลบ่า ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นว่าค่าความหนาของชั้นน้ำใต้ดินทั้งสี่ประเทศในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างจะมีค่าแนวโน้มที่ลดลงระหว่างปี พ.ศ.2545-2549 และมีค่าแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2550-2554 และมีค่าแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ.2554-2559 ดังนั้นจากผลการศึกษานี้สามารถนำมาช่วยสนับสนุนเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการจัดการแหล่งน้ำใต้ดินในพื้นที่ศึกษาได้ เช่น การกำหนดพื้นที่ของการเติมน้ำใต้ดิน เป็นต้น
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์