ผลกระทบของการใช้เถ้าก้นเตาแทนที่ปูนซีเมนต์และเป็นวัสดุบ่มภายใน ต่อสมบัติเชิงกลและความทนทานของคอนกรีตสมรรถนะสูง

ผู้แต่ง

  • เจตนิพัทธ์ วงศ์อภัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • กฤติธี พุทธรักษ์
  • ณัชพล จันทร์ควง
  • ธนวัฒน์ สายเรี่ยม
  • วีรชาติ ตั้งจิรภัทร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชัย จาตุรพิทักษ์กุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การบ่มภายใน, การแทรกซึมของคลอไรด์, คอนกรีตสมรรถนะสูง, เถ้าก้นเตาบดละเอียด, เถ้าก้นเตาที่ไม่ได้บดการบ่มภายใน

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอผลกระทบของการใช้เถ้าก้นเตาเป็นวัสดุปอซโซลานแทนที่ปูนซีเมนต์ในปริมาณสูงและเป็นวัสดุบ่มภายในต่อสมบัติเชิงกลและความ ทนทานของคอนกรีตสมรรถนะสูงโดยนำเถ้าก้นเตามาร่อนผ่านตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 50 และทำการบดจนมีอนุภาคขนาดเล็ก (GBA) จากนั้นนำไปแทนที่ ปูนซีเมนต์ร้อยละ 70 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน (70GBA) นอกจากนี้เถ้าก้นเตาที่ร่อนผ่านตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 4 และค้างบนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 50 (SBA) นำไปแทนที่มวลรวมละเอียดร้อยละ 25 50 และ 75 โดยปริมาตรมวลรวมละเอียดสำหรับใช้เป็นวัสดุบ่มภายในคอนกรีตภายใต้สภาวะการบ่ม ที่แตกต่างกัน ได้แก่ การบ่มด้วยน้ำและการบ่มด้วยอากาศ ทำการทดสอบการยุบตัวแบบแผ่และระยะเวลาการไหลที่ 50 ซม (T50) กำลังอัด โมดูลัสยืดหยุ่น การเปลี่ยนแปลงความร้อน และการแทรกซึมของคลอไรด์ของคอนกรีตสมรรถนะสูง จากการศึกษาพบว่าการยุบตัวแบบแผ่มีค่าลดลงและระยะเวลาการไหล ที่ 50 ซม มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณการแทนที่ด้วย SBA และคอนกรีตสมรรถนะสูงซึ่งแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วย GBA ร้อยละ 70 โดยน้ำหนักวัสดุประสานและแทนที่มวลรวมละเอียดด้วย SBA ร้อยละ 50 โดยปริมาตรมีกำลังอัดใกล้เคียงกับคอนกรีตควบคุมทุกอายุการทดสอบ สำหรับค่าโมดูลัสยืดหยุ่นมีค่าลดลง ตามปริมาณการแทนที่ด้วย SBA ในขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์และความลึกในการแทรกซึมของคลอไรด์มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณการแทนที่ด้วย SBA ทั้งนี้ค่าความร้อนที่เกิดขึ้นในคอนกรีตมีค่าลดลงตามปริมาณการแทนที่ด้วย SBA โดยการแทนที่ SBA ร้อยละ 50 และ 75 ช่วยลดความร้อนภายในคอนกรีตลงร้อยละ 5 และ 15 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับคอนกรีตควบคุม

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-07

วิธีการอ้างอิง

[1]
วงศ์อภัย เ., พุทธรักษ์ ก. ., จันทร์ควง ณ. ., สายเรี่ยม ธ., ตั้งจิรภัทร ว., และ จาตุรพิทักษ์กุล ช., “ผลกระทบของการใช้เถ้าก้นเตาแทนที่ปูนซีเมนต์และเป็นวัสดุบ่มภายใน ต่อสมบัติเชิงกลและความทนทานของคอนกรีตสมรรถนะสูง”, ncce27, ปี 27, น. MAT27–1, ก.ย. 2022.